รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


งานประเพณีเลี้ยงดง บวงสรวงปู่แสะย่าแสะ ประจำปี 2561

  • 0 ตอบ
  • 2104 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 664
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
งานประเพณีเลี้ยงดง บวงสรวงปู่แสะย่าแสะ ประจำปี 2561

ทม.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ สืบสานประเพณีเลี้ยงดง ความเชื่อแห่งเมืองล้านนา ที่ปฏิบัติกันมาหลาย 100 ปี ในวันที่ 28 พ.ค. 2561 ณ สำนักงานอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ที่ 4 (แม่เหียะ) ม.2 ต.แม่เหียะ

นายธนวัฒน์ ยอดใจ นายก ทม.แม่เหียะ เผยว่าประเพณีเลี้ยงดง ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เป็นประเพณีโบราณไม่กี่ชนิด ที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในขณะนี้ โดยทาง ทม.แม่เหียะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสืบสานประเพณีดังกล่าว และจัดติดต่อกันเป็นประจำทุกปี ในปีนี้มีในวันที่ 28 พ.ค.61 เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป

มีพิธีบวงสรวง ปู่แสะ-ย่าแสะ ณ ศาลปู่แสะ-ย่าแสะ บริเวณทางขึ้นวัดพระธาตุดอยคำ พิธีเลี้ยงดง ณ ลานเชิงวัดพระธาตุดอยคำ และลานเลี้ยงดง บ้านอุโบสถ ม.2 ต.แม่เหียะ ประเพณีเลี้ยงดง หมายถึง การเซ่นสรวงดวงวิญญาณผีในป่า ประเพณี หมายถึง สิ่งที่ปฏิบัติกันมาหลาย 100 ปี หลายช่วงอายุคน “ดง”เป็นภาษาพื้นเมือง หมายถึง ป่าไม้หรือป่าดงดิบ ตั้งแต่อดีตกาลป่าไม้คู่กับคน ป่าเป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งมีชีวิต คนอาศัยป่าในการดำรงชีวิตอยู่ สภาพแวดล้อมในป่าได้สร้างทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น พืชพันธุ์สัตว์ต่างๆ และรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ ตลอดจนเป็นต้นน้ำที่ดียิ่ง หล่อเลี้ยงมนุษยชาติในปัจจุบัน ป่าไม้สร้างสมดุลให้กับธรรม ชาติ “คนกับป่าไม้” อยู่คู่กันมาตลอด

สถานที่เลี้ยงดงที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน คือ อยู่ในบริเวณสำนักงานอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ – ปุย ที่ 4 (แม่เหียะ) ม.2 ต.แม่เหียะ ป่าไม้บริเวณดังกล่าว เป็นป่าต้นน้ำของลำห้วยแม่เหียะ ที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนใน ต.แม่เหียะ ต.สันผักหวาน และ ต.ป่าแดด ป่าต้นน้ำนี้ได้สร้างความสมดุล ให้กับชาวเชียงใหม่มานานกว่า 100 ปี ประเพณีเลี้ยงดง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตกาล เพื่อให้ประชาชนมีความรักและหวงแหน รักษาป่าไม้ให้คงอยู่และไม่ให้ใครเข้าไปบุกรุกทำลายธรรมชาติป่าต้นน้ำดังกล่าวให้เสียหาย

โดยวิธีดังกล่าวได้ผ่านร่างทรง โดยอัญเชิญดวงวิญญาณผู้ปกปักรักษาป่าแห่งนี้ นามว่า “ปู่แสะ ยักษ์จิคำ” และ “ย่าแสะ ยักษ์ตาเขียว” ซึ่งได้จัดพิธีปีละ 1 ครั้งเท่านั้น จากเดิมการเลี้ยงดงจะมีอยู่สองแห่ง การเลี้ยงปู่แสะจะเลี้ยงที่เชิงดอยสุเทพ เพราะเชื่อว่าปู่แสะเป็นผู้ปกปักษ์รักษาดอยสุเทพ ส่วนย่าแสะจะปกปักรักษาดอยคำ หากทำไม่ดีต่อดอยสุเทพ-ดอยคำ การบุกรุกทำลายป่า ก็จะต้องมีอันเป็นไป ด้วยอิทธิฤทธิ์ของปู่แสะย่าแสะตามความเชื่อมาแต่โบราณกาล
ปัจจุบันได้ทำพิธีพร้อมกันที่เชิงพระธาตุ โดยพิธีกรรมดังกล่าว นับว่าเป็นประเพณีที่ชาว ต.แม่เหียะ และ ชาว จ.เชียงใหม่ ได้จัดขึ้นทุกปี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ประชาชน ตามประวัติศาสตร์และพงศาวดาร โดยใช้ควายรุ่นเขาเพียงหูสีดำ จำนวน 1 ตัว เป็นเครื่องเซ่นไหว้ดวงวิญญาณ ให้มารับเครื่องเซ่นไหว้ คือควายดิบ ที่เตรียมไว้ โดยผ่านร่างทรง การจัดพิธีกรรมดังกล่าว มีความเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ฝนตกต้องตามฤดูกาล และประชาชนไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ทำการเกษตรได้ผลดีตลอดปีอีกด้วย

ข้อมูลจาก http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/712363
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้