รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


“ขุนกันชนะนนท์” กับถนนโค้งสุดท้ายสู่พระธาตุดอยสุเทพ

  • 1 ตอบ
  • 2733 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 661
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
“ขุนกันชนะนนท์” กับถนนโค้งสุดท้ายสู่พระธาตุดอยสุเทพ วันนี้บริเวณถนนโค้งสุดท้ายที่จะขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ มีป้ายขนาดใหญ่เขียนว่า “โค้งขุนกันชนะนนท์” ใครกันคือขุนกันชนะนนท์ เหตุใดจึงตั้งชื่อโค้งถนนตามชื่อของท่าน

ย้อนกลับไปเมื่อครั้งพ.ศ. ๒๔๗๗ ท่านครูบาศรีวิชัยได้นำราษฎรผู้มีจิตศรัทธาหลายหมื่นคนมาร่วมสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ การก่อสร้างดำเนินมาจนถึงเส้นทางช่วงสุดท้ายก่อนจะถึงหัวบันไดนาคประมาณ ๑ กิโลเมตร ซึ่งบริเวณนี้เป็นภูเขาหินสูงชัน คณะสำรวจได้มีความเห็นว่าควรจะตัดถนนอ้อมไปทางม่อนสนที่ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับดอยสุเทพ (บ้านนิมมานนรดีปัจจุบัน)

แต่ครูบาเถิ้มเห็นสมควรที่จะตัดตรงไปบรรจบทางเดินเท้าเก่าที่มีอยู่เดิม ซึ่งครูบาศรีวิชัยก็เห็นด้วยกับคำแนะนำนี้ แต่ด้วยบริเวณนี้เป็นภูเขาหินสูงชัน การตัดถนนตรงขึ้นดอยจึงยากลำบากมาก อีกทั้งผู้ร่วมสร้างทางทุกคนต่างเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า “ขุนกัน” คหบดีชาวไทใหญ่ผู้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาและต่อท่านครูบาศรีวิชัย จึงอาสาสร้างถนนช่วงโค้งหักศอกนี้ ซึ่งท่านมีประสบการณ์ในการสร้างทางลากขอนไม้ซุงที่ อ.พร้าวมาก่อนหน้านี้แล้ว

ขุนกันได้ระดมกำลังคนของท่านมาสร้างถนนเต็มกำลัง อีกทั้งยังใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวของท่านในการสร้างอีกด้วย ถนนโค้งสุดท้ายสู่พระธาตุดอยสุเทพจึงสำเร็จลงได้ในที่สุด ท่านครูบาศรีวิชัย จึงตั้งชื่อโค้งนี้ว่า “โค้งขุนกัน” เพื่อเป็นที่ระลึกถึง “ขุนกัน” ผู้เป็นกำลังสำคัญในการโค้งสุดท้ายที่แสนยากลำบากนี้

“ขุนกันชนะนนท์” เดิมชื่อ “ส่างกันนะ” เป็นชาวไทใหญ่ ถือกำเนิดที่บ้านหมอกใหม่ รัฐฉาน ต่อมาบิดามารดาของท่านได้อพยพมาตั้งบ้านที่ จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อท่านเติบโตเป็นหนุ่มได้ทำการค้าขายผ้าไหม-ยา โดยซื้อจากพม่าและแม่ฮ่องสอนแล้วนำมาขายต่อที่เชียงใหม่ การเดินทางไปมาเชียงใหม่อยู่บ่อยครั้งนี่เอง ท่านจึงได้พบกับ “แม่วันดี” บุตรีของพญานาวา จนได้สมรสครองเรือนกันในที่สุด และมีบุตรธิดาสืบต่อมาเป็นตระกูล “ชนะนนท์” ตามชื่อของท่าน

(พญานาวาได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าชีวิตอ้าว “เจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์” ให้เป็นผู้ควบคุมดูแลกระบวนเรือของท่าน ทั้งยังได้แต่งตั้งให้เป็นแก่บ้านดูแลบ้านสันทรายหลวง บ้านวังสิงห์คำ บ้านป่าตัน บ้านเมืองลัง บ้านเชียงยืน ราวปี พ.ศ. ๒๔๔๔ )

ภาพถ่ายของพ่อขุนกันแทบทุกภาพ จะเห็นท่านเคียนหัวแบบชาวไทใหญ่เสมอ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในรัฐสมัย “ตามผู้นำชาติพ้นภัย” พ่อขุนกันผู้มีวิสัยทัศน์ไกล จึงยินดีที่จะตัดมวยผมทิ้งแล้วเปลี่ยนมาสวมหมวกกะโล่แทนการเคียนหัว เพื่อให้สอดคล้องต่อความเปลี่ยนแปลงของประเทศชาติบ้านเมืองตามยุคสมัย ซึ่งท่านยอมรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อย่างเข้าใจด้วยชีวิตนั้นได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเนิ่นนาน

Credit
•อรวรรณ โอวาทสาร เรียบเรียงจากหนังสือ “โค้งขุนกัน ต้นตระกูลชนะนนท์” โดย ทองอินทร์ ชนะนนท์, ศิรินวล จีระมณีมัย, คำจันทร์ ชนะนนท์ •

ภาพถ่าย จากหนังสือ “โค้งขุนกัน ต้นตระกูลชนะนนท์”

ภาพ พ่อขุนกัน เเละ เเม่วันดี ชนะนนท์

(คำอธิบายเพิ่มเติมโดย Mae Mameow : พ่อขุนกันและแม่วันดี ถ่ายรูปกับชุดเชี่ยนหมากเงินและหีบบุหรี่เงิน ที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีประทานฝากมาให้ในวันที่เจ้าแก้วนวรัตน์มาทาบทามบุตรีเป็นที่ระลึก...ภายหลัง ลูกหลานได้มอบของทั้งสองชิ้นนี้คืนกลับไปยังพิพิธภัณฑ์พระราชชายาเจ้าดารารัศมี (ที่คุ้มเจ้าสบาย อ.แม่ริม)

ขอบคุณ ผู้บาวไทบ้าน และเฟส Lanna
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ Naiyato

  • Newbie
  • *
  • 2
  • 0
  • อาณาจักรล้านนา
    • ดูรายละเอียด
    • สโบเบท
ได้รับเกร็ดความรู้ดีๆ แบบนี้ทำให้รู้อะไรเพิ่มมากยิ่งขึ้น