รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


พระปรกโพธิ์ราวเทียน กรุเมืองน่าน

  • 1 ตอบ
  • 3755 อ่าน
*

ออฟไลน์ นันทปัญญา

  • Newbie
  • *
  • 3
  • 2
  • อาณาจักรล้านนา
    • ดูรายละเอียด
พระปรกโพธิ์ราวเทียน กรุเมืองน่าน
« เมื่อ: เมษายน 09, 2017, 11:42:13 AM »
พระปรกโพธิ์ราวเทียน กรุเมืองน่าน
พระปรกโพธิ์เมืองน่าน พระพิมพ์นี้เป็นปางพิชิตมารประทับใต้ร่มโพธิ์ จำลองครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับใต้ควงพระศรีมหาโพธิ์ พระหัตถ์ขวาชี้ลงธรณีเรียกนางพระธรณีมาเป็นสักขีพยาน ทรงชนะพญามารพร้อมเสนามารทั้งปวง พระแผงพิมพ์ปรกโพธิ์ เมืองน่าน สร้างขึ้นแล้วได้ลงรักปิดทอง ทำเป็นพระติดแผงตอกตะปูหรือใช้ยางรักเป็นตัวยึดติดกับแผงกระดานไม้สลักลายวิจิตรบรรจง ลงรักปิดทอง แผงหนึ่งๆมีพระ จำนวน 28 องค์ เท่ากับจำนวนพระพุทธเจ้าในอดีต หรือมากกว่าน้อยนั้นแล้วแต่ความเชื่อของผู้สร้างมีศรัทธาร่วมสร้างถวาย แล้วได้นำไปติดตั้งไว้ข้างพระประธานในพระวิหารหลวง จึงเป็นที่มาของชื่อว่า "พระปรกโพธิ์ราวเทียน" พระปรกโพธิ์นี้จึงเป็นพระที่พบตามวัดหลวงโบราณในเมืองน่าน ที่สร้างขึ้นหรือบูรณะในยุคล้านนาหลายวัดด้วยกันเช่น วัดพระธาตุแช่แห้ง วัดสวนตาล (พระเจ้าทองทิพย์) เป็นต้น แต่เพราะวัดวาอารามเหล่านี้ยังคงอยู่ในสภาพดี จึงมีสนิทแดงขึ้นไม่จัด แม้จะมีอายุกว่า 500 ปีแล้วก็ตาม และไม่ค่อยพบเจอพระชนิดนี้แพร่หลายเหมือนพระกรุที่แตกกรุจากวัดร้าง อย่างเช่นพระปรกโพธิ์เมืองเชียงแสน เชื่อกันว่าพระพุทธคุณพระปรกโพธิ์เมืองน่าน ดีเด่นด้านมหาอำนาจ ชนะศัตรู แคล้วคลาดปลอดภัย และยังอำนวยความร่มเย็นเป็นสุข ปกปักรักษาคุ้มครองสถานที่ กันฟ้า กันไฟ และคุ้มครองบริวารในปริมณฑลได้อีกด้วย เฉกเช่น เจ้าหลวงท้าวขาก่าน อดีตเจ้าเมืองน่านที่รบเก่งมีชื่อเสียงเป็นที่ครั่นคร้ามและยังมีความคงกระพันชาตรี สมเป็นยอดขุนพลแดนล้านนาที่ทั้งเก่งและศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พระปรกโพธิ์ สร้างขึ้นในยุคล้านนาปกครอง เพราะมีบันทึกว่า เมื่อปี พ.ศ. 2019 พระเจ้าติโลกราช ได้แต่งตั้ง เจ้าหลวงท้าวขาก่าน อดีตเจ้าเมืองฝาง ไปปกครองเมืองน่าน เจ้าหลวงปกครองนครน่านได้ระยะหนึ่ง จึงได้ใช้ให้หมื่นคำ ไปถวายเครื่องบรรณาการแด่พระเจ้าติโลกราช ยังนครเชียงใหม่ และไปได้ตำนานพระธาตุแช่แห้ง มาจากพระคุณเจ้ามหาเถระวชิรโพธิ์ ที่ได้มาจากเมืองลังกา “เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า และชาวเมืองทั้งหลายได้พากันแผ้วถางบริเวณดอยภูเพียงแช่แห้งซึ่งขณะนั้นถูกปกคลุมด้วยป่าไผ่เครือเถาวัลย์ จนเจอจอมปลวกใหญ่ลูกหนึ่งก็พากันทำการสักการบูชา ครั้นถึงเวลากลางคืนบริเวณจอมปลวกก็ปรากฏดวงพระธาตุเจ้าแสดงปาฏิหาริย์เปล่งรัศมีรุ่งเรืองนัก  จึงได้พากันขุดบริเวณจอมปลวกดู ขุดได้ลึก ๑ วาก็เจอก้อนศิลากลมเกลี้ยงลูกหนึ่ง เจ้าหลวงท้าวขาก่านจึงให้ชีปะขาวเชียงโดมวัดใต้ ทุบให้แตกก็พบผอบทองคำมีฝาปิดสนิท เมื่อเปิดออกดูก็พบ พระธาตุเจ้า ๗ องค์พระพิมพ์คำ ๒๐ องค์ พระพิมพ์เงิน ๒๐ องค์ที่พญากรานเมือง ได้มาจากเมืองสุโขทัยและนำมาประดิษฐานไว้”  เจ้าหลวงท้าวขาก่านได้นำพระธาตุรวมทั้งพระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำที่ขุดได้ทั้งหมดมาเก็บไว้ที่หอคำ และได้กราบบังคมทูลให้พระเจ้าติโลกราชทราบ พระเจ้าติโลกราชทรงมีรับสั่งว่า เมื่อขุดได้ที่ใดก็ให้เก็บไว้ ณ ที่นั้น “เมื่อนั้นเจ้าหลวงท้าวขาก่านพร้อมด้วยสังฆเจ้า ท้าวพระยาทั้งหลายก็พร้อมใจกันนำ พระบรมสาริกธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พระพิมพ์คำมาประดิษฐานไว้ ณ บนดอยภูเพียงแช่แห้งตามเดิม และก่อเจดีย์ สูง ๖ วาคร่อมไว้”  ต่อมาจุลศักราช๘๔๒ ( ปีพ.ศ.๒๐๒๓) พวกแกว (เวียดนามหรือญวน) ขณะนั้นเมืองแกวปกครองโดย จักรพรรดิเลทันต์ตอง ยกรี้พลมาตีเมืองหลวงพระบางแตก และยกมาประชิดเมืองน่าน 
ท้าวขาก่าน เมื่อทราบมีศึกประชิดเมืองจึงนำทัพเมืองน่าน 4 หมื่นคน ตีกองทัพแกว (เวียดนาม) ที่มีกำลังพล 3 ล้านคน ระหว่างนั้นได้ให้ม้าเร็วส่งข่าวไปทูลพระเจ้าติโลกราช ที่ยกทัพไปตีเมืองเงี้ยวได้ชัยชนะแล้วเพื่อขอกำลังมาสมทบ เจ้าหลวงท้าวขาก่านผู้นี้ พงศาวดารได้บรรยายรูปร่างลักษณะไว้ว่า มีผิวกายสีดำแดง สักยันต์เป็นรูปพญานาคราชและเถาวัลย์ตั้งแต่ขาจนถึงน่อง ยามเดินคล่องแคล่ว ว่องไวนัก เป็นผู้มีคาถาอาคมแก่กล้า เป็นที่เคารพนับถือของชาวน่านมาก  ได้สร้างพระเครื่อง โดยใช้ดิน พระธาตุแช่แห้ง แจกแก่ทหารคราวออกรบกับทัพแกว กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ทหารที่นำพระพกติดตัวออกศึกต่างคงกระพันชาตรีแทงฟันไม่เข้า เป็นขวัญกำลังใจแก่ทหารเมืองน่านยิ่งนัก กล่าวกันว่า พวกแกวฟันแทงทหารเมืองน่านเท่าไหร่ก็ไม่เข้า กองทัพเมืองน่าน ตีทัพแกวแตกไปทุกทิศทุกทาง กำลังพลของท้าวขาก่านบุกตีล่วงเข้าถึงกลางทัพ ฟันแทงพวกแกวล้มตายลงมาก ที่เป็นทหารเลวก็จับมัดไว้รวมกันนับหมื่นกว่าคน ส่วนพวกที่เป็นแม่ทัพนายกองที่มีหมวกเป็นสัญลักษณ์ ท้าวขาก่านนำมาตัดหัวจนหมดสิ้น โดยสำคัญว่าเป็นทัพหน้าของแกว หารู้ไม่ว่าคนที่พวกเขาตัดหัวนั้น หนึ่งในนั้นก็คือ เจ้าบัวสาม แม่ทัพใหญ่ของพวกแกวนั่นเอง ทัพแกวแตกพ่ายถอยไปตั้งหลักที่หลวงพระบาง เมื่อสิ้นแม่ทัพใหญ่ ทัพแกวได้รับข่าวว่ากองทัพพระเจ้าติโลกราชกำลังยกมาสมทบ ซ้ำได้รู้ว่าเจ้าหลวงท้าวขาก่านก็ได้กลับมาร่วมในกองทัพนี้ด้วย พวกแกวจึงเกรงกลัวยิ่งนักและรีบยกทัพกลับเมืองแกวไป ภายหลังเสร็จศึกสงคราม พระเจ้าติโลกราชได้ให้ท้าวขาก่านได้ไปครองเมืองเชียงราย จากชัยชนะครั้งนั้นพระเจ้าติโลกราช ทราบว่าจีนรบกับแกวมากว่า 20ปี ก็ยังไม่ชนะพวกแกว พระองค์จึงไปเจริญสัมพันธไมตรีกับจีน(คู่ปรปักษ์กับแกว) จักรพรรดิเฉิงฮว่า แห่งราชวงศ์หมิง ของจีน ได้ส่งคนมาวาดรูปเจ้าหลวงท้าวขาก่าน 4 อริยาบทเก็บไว้ในหอตำราหลวงเก็บบันทึกไว้ในราชสำนัก และส่งเครื่องราชบรรณาการตอบรับไมตรี มายังราชสำนักนครเชียงใหม่


*

ออฟไลน์ Shimuzan

  • Newbie
  • *
  • 2
  • 0
  • อาณาจักรล้านนา
    • ดูรายละเอียด
Re: พระปรกโพธิ์ราวเทียน กรุเมืองน่าน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: เมษายน 18, 2017, 03:13:27 PM »
ชาวเมืองน่านอย่างเราภูมิใจที่เกิดในจังหวัดที่มีประวัติของชาติที่น่ายกย่องจริงๆ