รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


คุกหญิงเดิม กลางเมืองเชียงใหม่ พบแนวกำแพงเวียงแก้ว เศษเครื่องถ้วยราชวงศ์หยวน

  • 1 ตอบ
  • 2959 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 664
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ขุดค้นโบราณคดี คุกหญิงเดิม กลางเมืองเชียงใหม่ พบแนวกำแพงเวียงแก้ว เศษเครื่องถ้วยราชวงศ์หยวน

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีปฏิบัติการและรักษาการหัวหน้า สำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ นำสื่อมวลชนและชาวชุมชนในเมืองชมหลุมขุดค้นโบราณคดีบริเวณโครงการพัฒนาพื้นที่ทัณฑสถานหญิงฯ เชียงใหม่ (เดิม) ให้เป็นสวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์ หลังจากได้เริ่มดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีทั้ง 4 หลุม

นายสายกลาง บรรยายว่า หลังจากขุดค้นทางโบราณคดีจำนวน 4 หลุม เจอหลักฐานการใช้งานพื้นที่ย้อนไปได้ถึง ยุคล้านนา (เก่าสุด) ซึ่งอยู่ลึกลงไป 1 เมตร โดยพบแนวกำแพงกับแนวอิฐปูพื้น มีการวางตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังเจอแนวฐานรากอาคาร สันนิษฐานว่าเป็นอาคารในสมัยช่วง รัชกาลที่ 5 รัชกาลที่ 6 ส่วนบริเวณหลุมที่สามด้านหน้าของอาคารเรือนเพ็ญเจอทั้งจุดที่เป็นฐานสิ่งก่อสร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นแนวกำแพงเวียงแก้วที่เป็นตัวแบ่งระหว่างวังชั้นนอกกับวังชั้นใน แนวกำแพงวิ่งไปตามทิศเหนือใต้ ลักษณะแนวกำแพงกับฐานรากอาคารอยู่ลึกกว่าผิวดินปัจจุบันประมาณ 60-70 เซนติเมตร และฐานรากอาคารเจอห่างออกไปจากแนวกำแพงประมาณ 40 เซนติเมตร ลักษณะการก่อสร้าง มีการหันด้านหนาของอิฐขึ้น คือ หันด้านอิฐขึ้นเป็นสิ่งรับน้ำหนัก ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างในยุครัชกาลที่ 5-6 โดยหลังสมัยนี้มีการถมปรับพื้นที่ให้สูงขึ้น มีการสร้างสิ่งก่อสร้างอะไรบางอย่าง เช่น มีสร้างร่องรางน้ำทับลงไปบนตัวอาคารนี้และมีการถมปิดอีกครั้งหนึ่ง

“โบราณวัตถุที่เป็นตัวกำหนดยุคสมัยพื้นที่ก็อย่างเช่น เจอเหรียญกษาปณ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 - 6 ซึ่งเป็นเหรียญ 1 อัฐระบุปี รศ.118 (ประมาณพ.ศ.2443) เจอ 1เหรียญ ที่หลุม 4 ในชั้นดิน 60 เซนติเมตร ซึ่งเป็นชั้นเดียวกับที่พบสิ่งปลูกสร้างอาคารหลุมที่ 3 ที่เป็นทั้งตัวฐานรากกำแพงและฐานรากอาคาร ส่วนวัตถุโบราณที่เป็นตัวกำหนดยุคล้านนา เจอทั้งเครื่องปั้นดินเผา เศษเครื่องถ้วยจีน สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงค์หมิง ราชวงค์ชิง กำหนดอายุได้เก่าสุดสมัยราชวงศ์หยวนประมาณพ.ศ. 1800 ราชวงศ์หมิงกับชิงประมาณพ.ศ. 2300 เศษ”

“เศษภาชนะดินเผาต่าง ๆ เป็นตัวบ่งบอกประวัติศาสตร์พื้นที่ เช่น เศษเครื่องถ้วยจีนในสมัยราชวงศ์หยวน ซึ่งเป็นเครื่องเคลือบสีเขียวจากแหล่งเตาหลงฉวน ปกติแหล่งโบราณคดีสมัยล้านนาหากไม่เก่าจริง จะเจอแค่ช่วงประมาณกลางล้านนา ประมาณ พ.ศ.2000 – 2200 ซึ่งจะเป็นเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงกับชิง แต่เมื่อพบเศษดินเผาอายุประมาณพ.ศ.1800 กว่า ๆ มันสะท้อนให้เห็นการใช้งานของพื้นที่ว่า พื้นที่นี้เก่าจริง ย้อนไปถึงช่วงต้นล้านนาที่พญามังรายมาใช้พื้นที่นี้"

นักโบราณคดีสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กล่าวอีกว่า เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐานอื่น ๆ เช่น แผนที่นครเมืองเชียงใหม่ปีพ.ศ. 2436 กับบันทึกชาวต่างชาติหรือเอกสารทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ จะเห็นขอบเขตแนวกำแพงเวียงแก้ว และเมื่อดูร่วมกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เจ้าอินทรวิชยานนท์เจ้าครองนครเชียงใหม่ในช่วง ปี 2416 – 2440 ซึ่งระบุว่า ท่านได้ย้ายตัวคุ้มจากบริเวณนี้ไปอยู่ที่โรงเรียนยุพราชฯ ทำให้อนุมานได้ว่า พื้นที่นี้ในช่วงเวลา พ.ศ. 2436 น่าจะเป็นพื้นที่ร้างไปแล้ว ไม่น่าจะมีตัวคุ้มอยู่ เพราะจากหลักฐานอีกชิ้น พบการรื้อคุ้มของเจ้ามโหตรประเทศ ซึ่งเป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 5 และเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ ซึ่งเป็นเจ้าหลวงองค์ที่ 6 ให้ไปปลูกถวายวัด

"ดังนั้นจากแผนที่นครเชียงใหม่ที่เห็นขอบเขตของเวียงแก้ว อาจจะสะท้อนได้ว่าแผนที่ฉบับนี้ถูกสร้างขึ้นมาในตอนที่พื้นที่ตรงนี้ร้าง ไม่ได้ถูกใช้งานเป็นคุ้ม แต่ยังเห็นขอบเขตกำแพงอยู่ ซึ่งจากตรงนี้ในข้อสันนิษฐานที่เรามี คือ ในเมื่อตรงนี้เคยเป็นคุ้มในช่วงเจ้าหลวงองค์ที่ 5 – 6 แสดงว่าก่อนหน้านี้ก็ต้องมีการใช้งานคุ้มมาก่อนด้วย ซึ่งพอจะทำให้เห็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการใช้งานพื้นที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยล้านนา"

นายสายกลาง กล่าวอีกว่า หลังจากได้ผลขุดค้นแล้ว จะนำไปวิเคราะห์ร่วมกับผลจากงานสแกนฟิสิกส์ เพื่อศึกษาแนวโน้มตัวฐานรากโบราณสถานอื่น ๆ ที่อาจเจอในพื้นที่นี้ เพื่อวางแผนการขุดลอกต่อไป แต่ก่อนที่จะขุดลอกจะมีกระบวนการของจังหวัดที่จะจัดทำประชาพิจารณ์ว่าเห็นควรเก็บอาคารไว้สองหลังที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์-สถาปัตยกรรมไว้หรือไม่ ได้แก่ อาคารเรือนพยาบาล และอาคารเรือนเพ็ญ เนื่องจากตามแบบประกวดเดิมจะมีการรื้อทิ้งทั้งหมด และไม่ว่าผลการประชาพิจารณ์จะเป็นอย่างไร กระบวนการจะเดินต่อในขั้นตอนการรื้อถอนอาคาร จากนั้นงานโบราณคดีที่เป็นการขุดลอกพื้นที่จะกลับมาขุดอีกครั้งหนึ่งเพื่อเปิดให้เห็นถึงตัวฐานรากโบราณสถานที่พบ

“คงต้องมีการคุยอีกครั้งหนึ่งเพื่อเอาปัจจัยต่าง ๆ มาพิจารณาร่วมกัน ทั้งแบบที่ชนะการประกวด กับตัวฐานรากที่เราเจอว่า มันมีตรงไหนบ้าง ลองเอามาทับซ้อนกันดูว่าตรงไหนที่เราจะสามารถเปิดโชว์ให้เห็นถึงตัวฐานรากอาคารเหล่านี้ที่เป็นประวัติศาสตร์พื้นที่กับส่วนไหนที่แบบชนะการประกวดจำเป็นต้องคงไว้เพื่อคงแนวคิดหลักของตัวแบบ และดูว่าจะหาทางออกร่วมกันยังไงได้บ้าง เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนของการบรูณะส่วนที่ต้องโชว์ กับงานก่อสร้างจากแบบที่ได้รับการประกวด”.

http://prachatham.com/article_detail.php?id=404
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้

*

ออฟไลน์ loveza19681

  • Newbie
  • *
  • 1
  • 0
  • อาณาจักรล้านนา
    • ดูรายละเอียด
 ;D ;D ;D ;D ;D ;D
ว้าววว
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2016, 08:50:34 PM โดย ฮักล้านนา »