รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ตำนานล้านนา หนานทิพย์ช้าง ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดต๋น

  • 0 ตอบ
  • 2884 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 665
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ตำนานล้านนา หนานทิพย์ช้าง ต้นตระกูลเจ้าเจ็ดต๋น

ระหว่าง พ.ศ.๒๒๗๒ - ๒๒๗๕ คือสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายดินแดนล้านนาได้รับความเดือดร้อนจากการรุกรานของฝ่ายพม่า ราษฎรมีความเป็นอยู่อย่างลำบาก ขณะนั้นพม่าได้เข้ายึดเมืองลำพูน เชียงแสน เชียงราย

ส่วนทางเชียงใหม่มีเจ้า องค์ดำ (องค์นก) พยายามรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่า แต่ทางลำปางนั้นยังไม่มีเจ้าเมืองปกครองมีแต่ ขุนเมืองรักษาเมืองไว้ ๔ คน คือ แสนหนังสือ แสนเทพ นายเรือนและจเรน้อย ขุนเมืองทั้ง ๔ ไม่มีความสามารถจะต่อสู้กับพม่า เพราะมุ่งแต่จะแก่งแย่งอำนาจกัน

พ.ศ. ๒๒๗๑ เจ้าอธิการวัดนายาง (ต๋นบุญวัดนายาง) พร้อมกับเจ้าอาวาสวัดสามขา และวัดบ้านฟ่อนได้พากันลาสิกขาบท รวบรวมผู้คนเพื่อกอบกู้บ้านเมืองจากพม่าตั้งตนเป็นอิสระซึ่งขุนเมืองทั้ง ๔ ที่รักษาเมืองลำปางอยู่ไม่สามารถจะปราบปรามได้

ท้าวมหายศ ซึ่งเป็นชาวพม่าที่มาครองเมืองลำพูน ก็ได้ยกกองทัพมายังนครลำปาง เพื่อจะมาปราบปราม เกิดการต่อสู้กันขึ้น สมภารวัดนายางถูกกระสุนปืนของชาวลำพูนตรงระหว่างคิ้วล้มลง เสนาซ้ายขวาเข้าประคองก็ถูกกระสุนปืนล้มลงทั้งคู่

เสนาวัดบ้านฟ่อนถูกกระสุนปืนที่หางตา เสนาวัดสามขาถูกที่หัวเข่า ถึงแก่กรรมทั้ง ๓ ท่านส่วนราษฎรที่เหลือ เมื่อเห็นหัวหน้าเกิดอันตรายจึงพากันหลบหนีไป พวกที่หนีไม่ทันก็ถูกทหาร ท้าวมหายศฆ่าตายจำนวนมาก เมื่อได้รับชัยชนะแล้วท้าวมหายศก็ยกทัพเข้ามาตั้งอยู่ในวัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองลำปางครั้งนั้นจึงเป็นเมืองร้าง หาคนอยู่อาศัยไม่มีเพราะเกรงข้าศึกพม่าจะมาทำร้าย

พ.ศ. ๒๒๗๒ เจ้าอธิการวัดชมพู (ต๋นบุญวัดชมพู) ได้ปรึกษาหารือกับญาติโยม และสานุศิษย์ หาคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นหัวหน้ากอบกู้บ้านเมือง เห็นว่าหนานทิพย์ช้างเป็นชาวบ้านคอกวัว มีอาชีพเป็นพรานป่า อยู่แถบข้างวัดศรีล้อม จังหวัดลำปาง (บางฉบับว่าเป็นชาวบ้านปงยางยก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง) เป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด กล้าหาญ มีกำลังฝีมือเข้มแข็ง ทั้งชำนาญในการใช้อาวุธปืนให้เป็นผู้นำกำลังเข้าต่อสู้พม่า จึงไปเชิญหนานทิพย์ช้างมา เป็นหัวหน้ากองกำลังกู้บ้านเมือง

แต่หนานทิพย์ช้างเกรงว่า ถ้าได้กู้บ้านเมืองแล้วจะมีปัญหาเรื่องการครองบ้านครองเมือง กับเจ้า ผู้ครองนครองค์เก่า จึงขอคำสัญญาจากชาวบ้านชาวเมืองและเจ้าผู้ครองนครองค์เก่าว่า ถ้าทำศึกชนะแล้วจะยกบ้านยกเมืองให้ครอง ชาวบ้านชาวเมืองก็พร้อมใจกันตกลง หนานทิพย์ช้างได้นำกำลังคน ๓๐๐ คน ไปล้อมทัพท้าวมหายศที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

กองทัพเดินทางไปถึงก็เป็นเวลาดึกสงัดแล้ว หนานทิพย์ช้างจึงวางกำลังคนอยู่เฝ้าจุดสำคัญของพวกพม่าแล้วลอบเข้าทางท่อระบายน้ำทิศตะวันตกของวัดพระธาตุลำปางหลวง (ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่) ปลอมตัวเป็นผู้ถือหนังสือจากเมืองลำพูนว่าเป็นหนังสือของชายาท้าวมหายศ และได้สืบถามจากทหารว่าท้าวมหายศเป็นผู้ใด ขณะนั้นท้าวมหายศ ทหารคนสนิทและนางบำเรอกำลังเล่นหมากรุกที่วิหารหลวง ในวัดพระธาตุลำปางหลวงอยู่

หนานทิพย์ช้างจึงทำทียื่นหนังสือให้แล้วถอนมาพอระยะจึงใช้ปืนยิงท้าวมหายศ ตายคาวงหมากรุก ซึ่งลูกปืนทะลุไปถูกกรงเหล็กที่ล้อมพระธาตุไว้ (ปัจจุบันนี้ยังมีรอยเหลืออยู่) ทัพท้าวมหายศแตกกระจัดกระจาย ทหารถูกฆ่าตายเป็นจำนวนมาก หนานทิพย์ช้างกลับมา ออกท่อระบายน้ำทางเดิมอีก

ชาวเมืองลำปางได้ตั้งชื่อให้เป็นเจ้าทิพเทพบุญเรือน เมื่อขับไล่ปราบกองทัพม่าแตกพ่ายไปแล้ว เจ้าอธิการวัดชมพู พร้อมด้วยชาวเมืองนครลำปาง พร้อมใจกันตั้งพิธีสรงน้ำมุรธาภิเษกให้หนานทิพย์ช้าง เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ใน พ.ศ.๒๒๗๕ (จุลศักราช ๑๐๙๔) มีนามว่า เจ้าพระยาสุลวฤาชัยสงคราม ครองเมืองลำปางได้นาน ๒๗ ปี พอปี พ.ศ.๒๓๐๒ (จุลศักราช ๑๑๒๑) ก็ถึงแก่ทิวงคตรวมอายุได้ ๘๕ ปี มีโอรสธิดากับเจ้าแม่พิมพา (ปิมปา) รวมได้ ๖ องค์

ขอขอบคุณเพจ ชุมชนคนล้านนา
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้