1
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / กบฏเมืองแพร่ ประวัติศาสตร์การฟื้นสยาม
« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2022, 07:23:31 PM »
เมื่อสยามปฏิรูป ล้านนาจึงต่อต้าน กบฏเมืองแพร่ ประวัติศาสตร์การฟื้นสยาม l ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.159
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to. ![]() ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที 1
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / กบฏเมืองแพร่ ประวัติศาสตร์การฟื้นสยาม« เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2022, 07:23:31 PM »
เมื่อสยามปฏิรูป ล้านนาจึงต่อต้าน กบฏเมืองแพร่ ประวัติศาสตร์การฟื้นสยาม l ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.159
2
คุยได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับล้านนา / “ภาพยนตร์สั้น “ลำปางนครแห่งความสุข” ทีม Tigerfilm« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2022, 06:21:51 PM »
“ภาพยนตร์สั้น “ลำปางนครแห่งความสุข” ทีม Tigerfilm
3
ของกิน ของใช้ชาวล้านนา / ภาพยนตร์สั้นเรื่อง ลาบ ...เมือง By Tigerfilms« เมื่อ: ตุลาคม 03, 2022, 05:51:59 PM »
ภาพยนตร์สั้นเรื่อง ลาบ ...เมือง By Tigerfilms
4
รวมภาพเก่า ภาพใหม่ล้านนา / ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน« เมื่อ: กันยายน 28, 2022, 12:34:00 PM »
ครูบาศรีวิชัย วัดบ้านปาง จ.ลำพูน
5
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / ตำนานประตูเมืองและแจ่งเมืองต่าง ๆ ของเชียงใหม่« เมื่อ: กันยายน 25, 2022, 02:21:03 PM »
ประตูเมืองเชียงใหม่ มี 5 ประตู ได้แก่
1.ประตูช้างเผือก ตั้งอยู่ทางทิศเหนือเป็นจุดรวมไพร่พลเพื่อเตรียมสู้รบยามเกิดศึกสงคราม 2. ประตูท่าแพ ด้านซ้าย เปรียบเสมือนประตูแขน ขา เป็นประตูทางผ่านของเจ้าในสมัยนั้น และเป็นจุดค้าขายแลกเปลี่ยนข้าวของ 3.ประตูสวนดอก ด้านขวา ที่ได้ชื่อว่าสวนดอกนั้นก็เพราะชายาของพระยากือนาชื่นชอบในการทำสวนดอกไม้ จึงมีสวนดอกไม้บริเวณนั้นมากมาย 4.ประตูเชียงใหม่ อยู่ทิศใต้ เป็นประตูมงคลของบ้านเมือง 5.ประตูแสนปรุง (สวนปรุง) เป็นประตูที่ใช้เป็นทางผ่านของศพ กำแพงเมืองชั้นในของเวียงเชียงใหม่ สร้างขึ้นพร้อมๆกับการสถาปนาอาณาจักรล้านนา ในรัชสมัยพญามังราย เพื่อเป็นเมืองหลวงของล้านนา โดยขั้นแรกได้ขุดคูเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความยาวด้านละประมาณ 1.63 กิโลเมตร และนำดินที่ได้จากการขุดคูเมืองนั้นขึ้นไปถมเป็นแนวกำแพงเมือง โดยเริ่มขุดที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือคือแจ่งศรีภูมิอันเป็นทิศมงคลก่อน แล้วก่ออิฐขนาบสองข้างกันดินพังทลาย ข้างบนกำแพงปูอิฐตลอดแนวทำเสมาไว้บนกำแพงทั้งสี่ด้านและประตูเมืองอีกทั้งสี่แห่ง กำแพงด้านทิศเหนือ มีความยาวมากที่สุด วัดได้ประมาณ 1.67 กิโลเมตร รองลงมาเป็นกำแพงด้านทิศใต้ วัดได้ 1.63 กิโลเมตร ส่วนกำแพงด้านทิศตะวันออกมีความยาวเท่ากับทิศตะวันตก คือ 1.62 กิโลเมตร หลังจากที่เชียงใหม่ได้รับอิสรภาพจากพม่า เจ้ากาวิละ ได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดี เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 โปรดให้บูรณะกำแพงเมืองเป็นครั้งใหญ่ เป็นกำแพงอิฐที่มีความมั่นคงทนทาน และบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ. 2361 ในรัชสมัยเจ้าหลวงธรรมลังกา เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 เนื่องจากกำแพงเมืองเชียงใหม่มีสภาพทรุดโทรมลงอย่างมาก และบางแห่งก็พังเป็นซากปรักหักพัง ทั้งยังมีวัชพืชขึ้นเป็นการรกอย่างมาก อีกทั้งยังบดบังทัศนียภาพของคนที่อยู่นอกกำแพงเมือง ดังนั้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2500 ทางเทศบาลนครเชียงใหม่ จึงได้เริ่มรื้อกำแพงออก เพื่อสร้างถนนและเส้นทางคมนาคมในตัวเมืองเชียงใหม่ เดิมกำแพงเมืองเชียงใหม่นั้นมีสองชั้น เรียกว่ากำแพงชั้นนอก สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 22 และ กำแพงชั้นในซึ่งเป็นกำแพงแต่เดิมสมัยสร้างเวียง โดยประตูเมืองในปัจจุบันจะเป็นประตูเมืองของกำแพงชั้นในซึ่งมีประตูทั้งหมด 5 ประตู ได้แก่ – ประตูช้างเผือก เดิมมีชื่อว่า ประตูหัวเวียง เป็นประตูชั้นในด้านทิศเหนือ สมัยก่อนเป็นประตูเอกของเมือง ในพระราชพิธีบรมราชาพิเษก กษัตริย์จะเสด็จเข้าเมืองยังประตูนี้ ประตูนี้เปลี่ยนชื่อในรัชสมัยของพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 1 เนื่องจากได้โปรดให้สร้างอนุสาวรีย์รูปช้างเผือกขึ้น – ประตูเชียงใหม่ เดิมมีชื่อว่า ประตูท้ายเวียง เป็นประตูชั้นในด้านทิศใต้ – ประตูท่าแพ เดิมมีชื่อว่า ประตูเชียงเรือก เป็นประตูชั้นในด้านทิศตะวันออก ที่มาของชื่อเนื่องจากประตูด้านนี้เป็นประตูที่จะไปยังท่าน้ำของแม่น้ำปิง ซึ่งมีแพจำนวนมากอยู่ – ประตูสวนดอก เป็นประตูชั้นในด้านทิศตะวันตก ที่มาของชื่อเนื่องจากบริเวณนั้นเป็นเป็นที่ตั้งของพระราชอุทยานของพญาเม็งราย – ประตูแสนปุง หรือประตูสวนปรุง เป็นประตูที่เจาะกำแพงชั้นในด้านใต้สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัย พญาสามฝั่งแกน เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์ได้สร้างเจดีย์ราชกุฏคาร (เจดีย์หลวง) ขึ้น ดังนั้น เพื่อความสะดวกแก่พระราชชนนีที่โปรดประทับอยู่ที่ตำหนักสวนแร (ทิพย์เนตร) นอกกำแพงเมืองด้านทิศใต้จะได้ทรงสะดวกในการเสด็จมาสักการะพระเจดีย์ จึงโปรดให้เจาะกำแพงเมืองด้านนั้น และตั้งชื่อว่า ประตูสวนแร ต่อมาเนื่องจากบริเวณนั้นเป็นที่ใช้ประหารนักโทษ ใช้หอกหลาวทิ่มแทงปุง (พุง) ชาวบ้านจึงเรียกว่าประตูสวนปุง หรือ ประตูแสนปุง นับแต่อดีต เชียงใหม่มีประเพณีที่ว่าหากมีการเสียชีวิตภายในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ จะต้องนำศพออกจากตัวเมืองผ่านทางประตูนี้เท่านั้น ซึ่งก็ยังยึดถือประเพณีนี้อยู่จนถึงปัจจุบัน ประตูของกำแพงเมืองชั้นนอก มีทั้งหมด 7 ประตู เป็นประตูเดิมที่สร้างในพุทธศตวรรษที่ 22 อยู่ 4 ประตู ได้แก่ – ประตูเชียงเรือก (เชียงเลือก) หรือประตูท่าแพ (ชั้นนอก) อยู่ทางทิศตะวันออก – ประตูหล่ายแกง (ระแกง) – ประตูขัวก้อม – ประตูไร่ยา หรือไหยา (ประตูหายยา) เป็นประตูที่สร้างในรัชสมัย พระยาพุทธวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 2 ซึ่งสร้างเพิ่มอีก 3 ประตูได้แก่ ประตูศรีภูมิ, ประตูช้างม่อย, ประตูกะโหล้ง และแจ่งเมืองเชียงใหม่ กำแพงเมืองเชียงใหม่มีแจ่ง (มุม) 4 แจ่ง ซึ่งถือเป็นป้อมปราการของเมืองในอดีต ได้แก่ – แจ่งศรีภูมิ เดิมชื่อ แจ่งสะหลีภูมิ เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนที่พญามังรายสร้างเมืองโปรดให้ขุดคูเมืองและสร้างกำแพงจากจุดนี้ไปยังแจ่งขะต้ำแล้ววกผ่านไปยังแจ่งกู่เฮืองแล้วต่อไปยังแจ่งหัวลินแล้ววกไปสี้นสุดที่แจ่งศรีภูมิ ตอนที่เริ่มขุดมีเรื่องเล่าว่าจุดนี้จะลึกมากๆขนาดเอาบันไดไม้ไผ่ (เกิ๋น) ที่มีช่องเหยียบมากเกินพันขั้น (พันตาเกิน) มาปีนขึ้นลง จึงเป็นที่มาของวัด พันตาเกิน หรือวัดชัยศรีภูมิในปัจจุบัน – แจ่งก๊ะต้ำ หรือ แจ่งขะต๊ำ คำว่า ขะต๊ำ เป็นเครื่องมือจับปลาของชาวล้านนาโบราณ ที่มีลักษณะคล้าย ๆ ลอบดักปลา ในคูเมืองคงจะมีปลาและสัตว์น้ำชุกชุมในบริเวณนี้ เป็นแจ่งทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ – แจ่งกู่เฮือง เป็นแจ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อเนื่องจากเป็นที่เก็บอัฐิของ อ้ายเฮือง ที่ได้เป็นผู้คุมของพญาคำฟู ซึ่งได้ถูกนำมาคุมขังที่นี่ภายหลังถูกจับกุม เนื่องจากก่อนหน้าได้ชิงราชสมบัติจากพญาแสนภู ซึ่งพญาไชยสงคราม พระบรมเชษฐาของพญาแสนภูปกครองเชียงรายอยู่รับสั่งให้มาปราบ – แจ่งหัวลิน เป็นแจ่งด้านตะวันตกเฉียงเหนือ แจ่งนี้เป็นแจ่งที่รับน้ำที่ไหลมาจากดอยสุเทพน้ำที่ไหลมาจะหล่อเลี้ยงไปทั่วเมือง 6
รวมภาพเก่า ภาพใหม่ล้านนา / ภาพเก่า กว๊านพะเยา (หนองนกเอี้ยง) จ.พะเยา« เมื่อ: กันยายน 24, 2022, 02:45:10 PM »
“กว๊านพะเยา” เป็นชื่อบึงน้ำจืดขนาดใหญ่อันดับ 2 ของประเทศที่จังหวัดพะเยา “กว๊าน” หรือเขียนตามอักษษรล้านนาว่า “คว้าน” หมายถึงบริเวณที่กระแสน้ำกระแทกตลิ่งให้ขยายตัวออก ซึ่งอาจหมายความว่าทะเลสาบได้ด้วย แต่ก่อนที่จะเป็นกว๊านพะเยาอย่างปัจจุบันนั้น บริเวณดังกล่าวคือ “หนองนกเอี้ยง” ที่ในฤดูฝนมีน้ำมาก ในฤดูแล้งแห้งขอด ขาดแคลนน้ำเข้าขั้นวิกฤติ ถึงขนาดชาวบ้านต้องขุดบ่อน้ำกันทีเดียว
นายเต่า กัลยา เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอพะเยา สำรวจพื้นที่กว๊านพะเยาเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2462 บันทึกว่า หนองกว๊านอยู่ในเขตตำบลเวียง อำเภอพะเยา จังหวัดเชียงราย อยู่ห่างจากน้ำแม่อิง [คนเหนือเรียกแม่น้ำว่า น้ำแม่] 25 เส้น กว้าง 50 เส้น ยาว 50 เส้น ระดับน้ำตามปกติในเดือนกันยายนตามบริเวณโดยรอบน้ำท่วม ลึกประมาณ 1 ศอก ตอนกลางน้ำลึก 1 วา 3 ศอก บริเวณโดยรอบเป็นป่าไผ่และไม้กระยาเลยอยู่ห่างจากหมู่บ้านในเวียงประมาณ 4 เส้น เมื่อแบ่งกว๊านออกเป็น 4 ส่วน ก็จะได้ส่วนละ 25 เส้น พื้นที่หนองกว๊านมี 2 ตอน เรียก “กว๊านน้อย” อยู่ทางทิศตะวันตกเป็นร่องลำรางนำขึ้นไปหาขาน้ำแม่ตุ่น เยื้องไปหาชายบ้านสันเวียงใหม่ กับ “กว๊านหลวง” อยู่ทางทิศตะวันออก ใกล้น้ำแม่อิงฝั่งขวา มีร่องน้ำผ่ากลางเชื่อมติดต่อกัน “แม่ร่องน้อยห่าง” บริเวณรอบหนองกว๊านมีหนองน้ำหลายแห่ง และมีลำรางร่องน้ำเชื่อมถึงกันทั้งหมด ที่เชื่อมกับน้ำแม่อิงเรียกว่า “ร่องเหี้ย” ไหลเชื่อมกว๊านหลวงกับน้ำแม่อิง ทั้งยังมีบรรดาลำรางร่องน้ำลำห้วยที่มีลำธารไหลมาจากภูเขาต่างๆ อีกด้วย ก่อนปี 2484 หนองกว๊านจะมีน้ำมากเฉพาะฤดูฝน (กรกฎาคม-พฤศจิกายน) หลังจากนั้นน้ำจะลดลงเรื่อยๆ จนเหลือแต่ลำคลองหรือแม่น้ำที่ไหลลงกว๊านน้อยกับกว๊านหลวงเท่านั้น ส่วนหนองกว๊านทางใต้กับทางเหนือน้ำจะแห้งขอดจนเดินข้ามได้สะดวก ชาวบ้านที่อยู่ตามชนบทฝั่งตรงข้าม สามารถเดินทางไปมาเข้าสู่ตัวเมืองพะเยาได้อย่างสะดวกและมักจะนำพืชผลสินค้าทางเกษตร เช่นจำพวก ข้าว ครั่ง บรรทุกเกวียนมาขาย ส่วนแม่ค้าก็จะหาบของมาขายเช่นจำพวกของป่า และพืชผักต่างๆ มาขายที่ตลาดในเมืองตอนเช้า แต่เมื่อเมืองขยายตัว ประชากรเพิ่มขึ้น ก็เกิดปัญหาตามมานั่นคือ การขาดแคลนน้ำ ปี 2447 ทางราชการคิดแก้ปัญหาโดยจะย้ายเมือง ไปอยู่บริเวณบ้านแม่ต๋ำหล่ายอิง แต่พื้นที่ๆ จะอพยพไปอยู่นั้นเป็นชุมชนของพวกเงี้ยว ความบาดหมางและความหวาดกลัวจากกรณีเหตุการณ์กบฏเงี้ยวก่อการจลาจลในภาคเหนือเมื่อปี 2445 ยังไม่จางหาย จึงทำให้ประชาชนในเมืองส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมืองไม่ค่อยยอมอพยพไปอยู่ในพื้นที่ใหม่ เมื่อการย้ายเมืองไม่ประสบผลสำเร็จ ประชาชนยังต้องเผชิญกับปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคไปอีกหลายปี แต่การขาดแคลนน้ำให้เกิดอาชีพใหม่เกิดขึ้นคือ อาชีพขายน้ำ จะมีชาวบ้านไปตักน้ำที่บ่อกลางกว๊าน ใส่ปี๊บบรรทุกเกวียนไปขายในตัวตลาด ระหว่างปี 2482-84 ราชการได้สร้างทำนบและประตูน้ำกั้นขวางน้ำแม่อิง บริเวณส่วนที่ไหลออกจากหนองกว๊านทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อระดับน้ำถูกควบคุมโดยการปิด-เปิดประตูน้ำ จึงทำให้หนองน้ำธรรมชาติเปลี่ยนสภาพเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จากหนองกว๊านย่อยๆ รวมกันเป็น “กว๊านพะเยา” ชาวบ้านกำลังตักน้ำในบ่อกลางกว๊าน บรรทุกไปขายในตัวเมืองพะเยา (ภาพจาก หนังสือภาพ “เมืองไทย” กรมโฆษณาการปีที่ 1 เล่มที่ 4 ตุลาคม 2484) 7
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / พงศาวดารเมืองน่าน รูปภาพ ประวัติ« เมื่อ: กันยายน 24, 2022, 01:33:51 PM »8
รวมภาพเก่า ภาพใหม่ล้านนา / Re: การก่อสร้างโค้งไม้สะพานทาชมภู จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2462« เมื่อ: กันยายน 24, 2022, 09:14:43 AM »
สร้างขึนในสมัยรัชการที่ ๖
9
รวมภาพเก่า ภาพใหม่ล้านนา / การก่อสร้างโค้งไม้สะพานทาชมภู จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2462« เมื่อ: กันยายน 24, 2022, 09:07:51 AM »
การก่อสร้างโค้งไม้สะพานทาชมภู จังหวัดลำพูน พ.ศ. 2462
รหัสเอกสาร ร.6 คค 5.3/8 10
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / เปิดประวัติศาสตร์ดินแดน "โยนกนคร-เวียงกุมกาม"« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2022, 12:42:44 PM »
เปิดประวัติศาสตร์ดินแดน "โยนกนคร-เวียงกุมกาม" | ตำนาน ชุด ความเชื่อ | 27 ม.ค. 61
11
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / เวียงหนองหล่ม อดีตสู่อนาคต : พลิกปมข่าว« เมื่อ: สิงหาคม 31, 2022, 12:36:05 PM »
เวียงหนองหล่ม อดีตสู่อนาคต : พลิกปมข่าว (2 ธ.ค. 62)
12
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / เวียงหนองล่อง จากตำนานสู่การตั้งถิ่นฐาน« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2022, 08:27:07 PM »เวียงหนองล่อง จากตำนานสู่การตั้งถิ่นฐาน และเมืองหน้าด่านในดินแดนล้านนา I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.153 13
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / สุวรรณโคมคำ เมืองในตำนาน ริมฝั่งโขง สปป.ลาว I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.130« เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2022, 08:18:45 AM »
สุวรรณโคมคำ เมืองในตำนาน ริมฝั่งโขง สปป.ลาว I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.130
ลุ่มน้ำโขง-กก ในแอ่งที่ราบเชียงแสน ต่อเนื่องถึง สปป.ลาว ปรากฏบ้านเมืองตามตำนานอยู่หลายแห่ง บ้านเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงต่อเนื่องกันหลายยุคสมัย เช่น โยนกนาคพันธุ์ หิรัญเงินยางนคร รวมถึงเชียงแสน ซึ่งนักประวัติศาสตร์ได้ตั้งข้อสมมุติฐานถึงที่ตั้งเมืองเหล่านั้นไว้หลากหลาย บ้างก็ชัดเจน บ้างก็คลุมเครือ อย่างไรก็ตาม ยังมีเมืองที่เก่าแก่ที่ปรากฏในตำนานอีกแห่ง นั่นคือ "สุวรรณโคมคำ" ซึ่งระบุว่าตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว ของสปป.ลาว ในปัจจุบัน จากหลักฐานร่องรอยเมืองโบราณริมโขง ที่ยังปรากฏคูนำ้คันดินชัดเจน รวมทั้งหลักฐานโบราณคดีต่าง ๆ ที่พบมากมาย ทั้งในแม่น้ำโขง และพื้นที่บ้านต้นผึ้งในปัจจุบัน พอจะเป็นร่องรอยการมีอยู่จริงของเมืองสุวรรณโคมคำในตำนานได้หรือไม่ ค้นหาคำตอบไปพร้อมกับ "ประวัติศาสตร์นอกตำรา" ตอน "สุวรรณโคมคำ ข้ามโขงสู่เมืองในตำนาน" 14
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / ลัวะ คือเจ้าของดินแดนเดิม ต้นทางรากเหง้าแห่งอารยธรรมล้านนา I ประวัติศาสตร์นอกตำร« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2022, 01:45:32 PM »
ลัวะ คือเจ้าของดินแดนเดิม ต้นทางรากเหง้าแห่งอารยธรรมล้านนา I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.146
15
ประวัติล้านนา ตำนานล้านนา / ล้านนา บนแผนที่ชีวิตที่ไม่เคยสูญ : Spirit of Asia« เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2022, 01:44:31 PM »
ล้านนา บนแผนที่ชีวิตที่ไม่เคยสูญ : Spirit of Asia
|