แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


Messages - ฮักล้านนา

หน้า: [1] 2 ... 45
1
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=RxSrpw0beII" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=RxSrpw0beII</a>

ดูได้ที่ Youtube : https://www.youtube.com/watch?v=RxSrpw0beII

ดอยนางแก้ว หรือนางแก้วองค์หลวง ตำนานล้านนา ตำนานดอยนางแก้ว หรือนางแก้วองค์หลวง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ระหว่างสองจังหวัด เป็นตำนานที่เล่าสืบต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่ยังไม่มีการตัดถนนเส้นเชียงใหม่ - เชียงราย และการเซ่นสังเวยดวงวิญญาณของนางแก้วที่สูญหายไปแล้ว

ขอขอบคุณ Youtube : อ้ายทีขี้เล่า

2
พลัว วรนคร ปัว

ปัวเริ่มปรากฏขึ้นราว พ.ศ. 1825 ภายใต้การนำของ พญาภูคา เจ้าเมืองย่าง ศูนย์การปกครองอยู่ที่เมืองย่าง (เชื่อกันว่าคือบริเวณริมฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำย่าง ใกล้เทือกเขาดอยภูคาในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา) เพราะปรากฏร่องรอย ชุมชนในสภาพที่เป็นคูน้ำ คันดิน กำแพงเมืองซ้อนกันอยู่ ต่อมาพญาภูคา ได้ขยายอาณาเขตปกครองของตนออกไปให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยส่งราชบุตรบุญธรรม 2 คน ไปสร้างเมืองใหม่ โดยขุนนุ่น ผู้พี่ไปสร้างเมืองจันทบุรี (เมืองหลวงพระบาง) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำของ (แม่น้ำโขง) และขุนฟองผู้น้องสร้างเมืองวรนคร(เมืองปัว) ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ การที่ให้ชื่อว่าเมือง "วรนคร" ก็เนื่องมาจาก พญาภูคา ได้เลือกชัยภูมิที่ดี เหมาะสมในการสร้างเมือง เสร็จแล้วจึงขนานนามว่าเมือง "วรนคร" ซึ่งหมายถึง เมืองดี นับว่าเป็นการเริ่มต้นราชวงศ์ภูคา

เมื่อบ้านเมืองวรนครเริ่มมั่นคงเป็นปึกแผ่น เจ้าขุนฟองก็ได้เป็นพญาแล้วเสวยราชสมบัติในเมืองวรนคร มีพระโอรส 1 พระองค์ ใส่ชื่อเบิกบายว่า "เจ้าเก้าเกื่อน" ต่อมาไม่นานักพญาขุนฟองถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนราชบุตรจึงได้ขึ้นครองเมืองปัวแทน ด้านพญาภูคาครองเมืองย่างมานานและมีอายุมากขึ้น มีความประสงค์จะให้เจ้าเก้าเถื่อนผู้หลานมาครองภูคาหรือเมืองย่างแทน จึงให้เสนาอำมาตย์ไปเชิญ แต่เจ้าเก้าเกื่อนไม่ค่อยเต็มใจนัก เจ้าเก้าเถื่อนเกรงใจปู่จึงยอมไปอยู่เมืองย่าง และมอบให้ชายาคือ นางพญาแม่ท้าวคำปิน ซึ่งทรงครรภ์อยู่คอยปกครองดูแลรักษาเมืองวรนคร (เมืองปัว) แทน เมื่อพญาภูคาถึงแก่พิราลัย เจ้าเก้าเถื่อนจึงครองเมืองย่างแทน

ในช่วงที่เมืองวรนคร (เมืองปัว) ว่างจากผู้นำ เนื่องจากเจ้าเก้าเถื่อนไปครองเมืองย่างแทนปู่คือ พญาภูคา พญางำเมืองเจ้าผู้ครองเมืองพะเยา จึงได้ขยายอิทธิพลเข้าครอบครองบ้านเมืองปัวทั้งหมด นางพญาแม่เท้าคำปินพร้อมด้วยบุตรในครรภ์ ได้หลบหนีไปอยู่บ้านห้วยแร้ง จนคลอดได้บุตรชายท่ามกลางท้องไร่นั้น ชื่อว่า "เจ้าขุนใส" ปรากฏว่านายบ้านห้วยแร้งนั้น เป็นพ่อครัวพญาเก้าเกื่อนมาก่อน จึงรับนางพญาแม่ท้าวคำปินและกุมารไปเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ อายุได้ 16 ปี ก็นำไปไหว้สาพญางำเมือง เมื่อพญางำเมืองเห็น ก็มีใจรักเอ็นดูรับเลี้ยงดูไว้ แลเติบใหญ่ได้เป็นขุนนาง รับใช้พญาคำเมืองจนเป็นที่โปรดปราน พญางำเมืองจึงสถาปนาให้เป็น เจ้าขุนใสยศ ครองเมือง เป็นเจ้าเมืองปราดภาย หลังมีกำลังพลมากขึ้นจึงยกทัพมาต่อสู้จนหลุดพ้นจากอำนาจเมืองพะเยา แล้วกลับมาเป็นพญาเสวยเมืองวรนคร (เมืองปัว) และได้รับการสถาปนาเป็น "พญาผานอง" เมืองวรนคร จึงกลายชื่อมาเป็น เมืองปัว ซึ่งหันไปมีความสัมพันธ์กับกรุงสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ดังปรากฏชื่อเมืองปัวอยู่ในหลักศิลาจารึก หลักที่ 1

พญาผานองเสวยเมืองปัวอยู่ได้ 30 ปี มีโอรส 6 คน คนแรกชื่อ เจ้าการเมือง คนสุดท้องชื่อ เจ้าใส พอพญาผานองถึงแก่พิราลัยไปแล้ว เสนาอำมาตย์ทั้งหลายก็อภิเษกให้เจ้าใสผู้น้องเสวยเมืองแทน เพราะเป็นผู้มีความรู้เฉลียวฉลาด แต่อยู่ได้ 3 ปี ก็ถึงแก่พิราลัยไปอีก เสนาอำมาตย์ทั้งหลายจึงเชิญ เจ้าการเมือง ขึ้นเสวยเมืองแทน

ในสมัยของพญาการเมือง (กรานเมือง) โอรสของพญาผานอง เมืองปัว ได้มีการขยายตัวมากขึ้น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัยอย่างใกล้ชิด พงศาวดารเมืองน่านกล่าวถึงพญาการเมืองว่า ได้รับเชิญจากเจ้าเมืองสุโขทัย (พระมหาธรรมราชาลิไท) ไปร่วมสร้างวัดหลวงอภัย (วัดอัมพวนาราม) ขากลับเจ้าเมืองสุโขทัย ได้พระราชทานพระธาตุ 7 องค์ พระพิมพ์ทองคำ 20 องค์ พระพิมพ์เงิน 20 องค์ ให้กับพญาการเมืองมาบูชา ณ เมืองปัวด้วย

ครั้งนั้น พญาการเมือง ได้ปรึกษาพระมหาเถรธรรมบาลและได้เลือกสถานที่ บรรจุพระบรมธาตุ จึงได้ก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่บนภูเพียงแช่แห้ง ด้วยความเชื่อว่าเป็นที่เคยบรรจุพระบรมธาตุมาแต่ปางก่อน ดอยภูเพียงแช่แห้งเป็นเนินไม่สูงนัก ตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำเตี๋ยนกับน้ำลิง ทางฟากตะวันออกของแม่น้ำน่าน จึงได้ระดมผู้คนก่อสร้างพระธาตุแช่แห้งขึ้นที่เนินแล้วอัญเชิญพระบรมธาตุมาบรจุไว้ พร้อมทั้งได้อพยพผู้คนจากเมืองปัว ลงมาสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณพระธาตุแช่แห้ง เรียกว่า "เวียงภูเพียงแช่แห้ง" เมือปี พ.ศ. 1902 โดยมีพระธาตุแช่แห้งเป็นศูนย์กลางเมือง

3
โบราณสถานเวียงลอ อ.จุน จ.พะเยา เวียงลอ เป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่มีอายุมากกว่า ๙๐๐ ปี ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เมืองหนึ่งในภาคเหนือ

ในเขตโบราณสถานเวียงลอ พบซากกำแพงเมืองเก่า พระธาตุ วัดเก่าแก่และวัดร้างอยู่มากมาย มีการค้นพบแนวกำแพงเมือง ลักษณะผังเมืองเป็นรูปค่อนข้างกลม แนวกำแพงเมืองเป็นคันดินไม่สูงนัก บางส่วนมีร่องรอยการก่ออิฐเสริมเข้าไปด้วย คูเมืองส่วนใหญ่ตื้นเขิน ภายในตัวเมืองมีบ่อน้ำกรุอิฐจำนวนมาก แต่เดิม เวียงลอ มีวัดร้างกว่า ๕๐ วัด ตามวัดร้างพบพระพุทธรูปหินทรายและพระพุทธรูปทองสำริดจำนวนมาก แต่ถูกทำลายลงไปเกือบหมด พบพระธาตุเจดีย์เก่าแก่ที่สำคัญ ที่วัดพระธาตุหนองห้า เป็นศาสนสถานที่ตั้งอยู่บนลาดชายเนินเขา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงคล้ายพระธาตุเจดีย์วัดลีที่ตั้งอยู่ในเมืองพะเยา ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ พบหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึกที่วัดใหม่ ซึ่งเป็นวัดร้างในเวียงลอ ข้อความในจารึกกล่าวถึงเจ้าหมื่นล่อเทพศรีจุฬาสร้างวัดใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๐๔๐ ถวายเป็นพระราชกุศลแก่มหาเทวีเจ้าและพระมหากษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และกล่าวถึงอาณาเขตวัดนี้ให้อยู่ในพื้นที่ตะวันออกจรดฝั่งแม่น้ำด้านใต้จรดคูเมืองชั้นนอก ด้านตะวันตกออกห่างไปร้อยวา ด้านเหนือจรดคูเมืองและด้านท้ายของจารึกยังบอกว่า ผู้ใดมาครองเมืองลอต่อไป ขอให้บำรุงพระพุทธศาสนาและวัดใหม่นี้สืบไปอย่าได้ทำลาย ความในศิลาจารึกกล่าวชี้ให้เห็นว่า เวียงลอ เป็นเมืองโบราณที่มีคูเมือง กำแพงเมืองล้อมรอบอย่างน้อยสองชั้นและชื่อเมืองลอ ก็เป็นชื่อเรียกกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๒๑ ในสมัยล้านนา เวียงลอเป็นเมืองสำคัญอยู่ระหว่างเส้นทางคมนาคมติดต่อระหว่างเมืองเชียงแสน เมืองเชียงของ เมืองเทิง เมืองพะเยา เมืองน่าน และล้านช้าง

จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ใต้ชั้นคันดินกำแพงเมืองพบหลุมฝังศพก่อนประวัติศาสตร์อายุราว ๑,๕oo-๒,ooo ปี หรือสมัยก่อนล้านนา แสดงให้เห็นว่าก่อนการสร้างเวียงลอ พื้นที่นี้มีผู้คนอาศัยอยู่ก่อนแล้ว เวียงลอปรากฎในหลักฐานทางประวัติศาสตร์เก่าที่สุดใน ปี พ.ศ. ๑๖๖๙ ในช่วงเหตุการณ์ที่ขุนเจืองยกทัพไปช่วยขุนชินสู้รบที่นครหิรัญเงินยางเชียงแสน ต่อมาเวียงลอถูกผนวกเข้ากับล้านนาในสมัยพญาคำฟูแห่งเชียงใหม่ โดยราชสำนักเชียงใหม่ได้ส่ง “หมื่นลอ” มาปกครองเมือง
เวียงลอ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากร พบโบราณสถานภายในเวียงกว่า ๑๐ แห่ง นอกเวียง ๓๓ แห่ง ปัจจุบันโบราณสถานเวียงลอที่ได้ดำเนินการขุดแต่งและบูรณะไปแล้วทั้งสิ้น ๑๖ แห่ง คือ

๑. วัดศรีปิงเมือง

๒. วัดพระเจ้าเข้ากาด

๓. วัดมะม่วงแก้มแดง

๔. วัดพระธาตุหนองห้า

๕. กู่พระแก้ว

๖. วัดพระธาตุบุนนาค

๗. วัดเวียงป่าสัก

๘. วัดท่าแฉะ

๙. กู่ล้อมธาตุ

๑๐. วัดกู่บวกกู่

๑๑. กู่หนองผำ

๑๒. วัดศรีชุม

๑๓. กู่เกือกม้า

๑๔. วัดสารภี

๑๕. กู่ขะจ้าว

๑๖. โบราณสถานใกล้วัดศรีปิงเมือง

ข้อมูลจากเพจ พะเยาบ้านฉัน

4
ชาวบ้านกำลังต้อนฝูงควายผ่านหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงรายหลังเก่า

ศาลากลางจังหวัดเชียงราย สร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ เพื่อเป็นที่ทำงานของหน่วยงานรัฐบาลและข้าหลวงเมืองเชียงราย ตามนโยบายการปฏิรูปการปกครองเข้าสู่ศูนย์กลางของรัฐบาลสยาม เป็นศาลากลางที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทยที่ยังคงเหลืออยู่ ออกแบบโดยนายแพทย์วิลเลี่ยม เอ บริกส์ มิชชันนารีที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในจังหวัดเชียงราย

ศาลากลางหลังแรกจังหวัดเชียงราย เป็นสถาปัตยกรรมที่มีโครงสร้างก่ออิฐถือปูน เป็นอาคาร ๓ ชั้น มีขนาดกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๓๗ เมตร การก่อสร้างเป็นรูปแบบศิลปะโคโลเนียล เป็นอาคารเก่าหลังคาทรงปั้นหยา ประดับด้วยมุขหน้าต่างหลังคา มีมุขหัวท้ายยื่นมาเล็กน้อย ซึ่งมีจุดเด่นของอาคาร คือก่ออิฐเป็นรูปโค้ง (Arch) ช่องเปิดที่ระเบียงอาคารด้านล่างทำเป็น โครงสร้างคานโค้งครึ่งวงกลม ๓ ชุดโค้งต่อเนื่อง และมีโถงทางเดินที่เชื่อมถึงโดยตลอดด้านหน้าชั้นที่ ๑

ศาลากลางดังกล่าวปัจจุบันไม่ได้เปิดทำการ เนื่องจากกำลังปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ภาพเชียงราย โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย แต่ถือเป็นจุดสำคัญที่สะท้อนอดีตของเมืองเชียงรายที่ได้รับอิทธิพลจะตะวักตกเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการจัดสรรเมือง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

1. จักรพันธ์ ม่วงคราม. (2555). สถาปัตยกรรมแบบตะวันตกในเมืองเชียงรายภายใต้บทบาทของมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียน.วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ภาควิชาศิลปะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร.

2. อภิชิต ศิริชัย. (2558). หนังสือที่ระลึกเนื่องในวโรกาส 777 ปี ชาตกาลพระญามังรายหลวง. สำนักพิมพ์ล้อล้านนา.เชียงราย

5
ภาพอดีตประตูหัวเวียง หรือปัจจุบันเรียกว่า ประตูช้างเผือก เชียงใหม่เมืองหลวงของล้านนาในอดีต ปี พ.ศ.๒๔๗๘ ซึ่งชาวต่างชาติถ่ายภาพเอาไว้

6
สถานีรถไฟเชียงใหม่ พ.ศ.2494

น่าจะเป็นภาพถ่ายยุคแรกๆ ของอาคารหลังนี้ซึ่งสร้างขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดไม่นาน ทดแทนอาคารหลังแรกที่ถูกระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรทำลายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ.2486

ผมถ่ายก๊อปปี้มาจากนิตยสารเก่าเล่มหนึ่ง(ผลิตปี 2494) เมื่อ 11 ปีที่แล้ว

7
สี่แยก ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่
สมัยยังเป็น สี่แยกไฟแดง ยุค80s  ภาพเมื่อ 46 ปีก่อน
เดิมกำแพงบริเวณนี้ ตบแต่งเหมือนประตูเมืองเชียงใหม่
 ด้านอื่นในปัจจุบัน และ เป็นสวนสาธารณะ พักผ่อน
จุดนัดพบของชาวเมือง เชียงใหม่
รถสี่ล้อรับส่งผู้โดยสาร ยังไม่แยกสี
ค่ารถเก็บคนละ 2 บาท ในตัวเมือง
รถยี่ห้อมาสด้า คนนิยมมากที่สุด
ตึกสูงกลางภาพเป็น โรงแรมมนตรี
ดาดฟ้ามีป้ายโฆษณาเบียร์ อมฤต
หลังโรงแรม มีปั้มน้ำมัน เชลล์
 ยุคนั้น ยามค่ำก็จะมีโรงภาพยนตร์
และ เป็น ตำนานย่านโลกีย์
ก่อนปรับภูมิทัศน์เป็น ลานประตูท่าแพ
สร้างประตูท่าแพใหม่ในอีก 7 ปีต่อมา

ภาพถ่าย เมื่อปี พ.ศ. 2521
เครดิต :: Rick Silverman นักท่องเที่ยวชาวตะวันตก

8
สะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรก ของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๑ โดยนายแพทย์แมเรียน เอ ชีค หรือ หมอชีค มิชชันนารีชาวอเมริกันที่ผันตัวเองไปทำกิจการป่าไม้ สะพานดังกล่าวเป็นสะพานขนาดใหญ่ ทำจากไม้สัก เชื่อมระหว่างแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออกบริเวณด้านหลังวัดเกตการามกับฝั่งตะวันตกใกล้ตลาดต้นลำไย เรียกชื่อกันว่า ขัวกุลา ต่อมามีการสร้างสะพานไม้แห่งใหม่ขึ้น เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ ๒ ของเมืองเชียงใหม่ (บริเวณสะพานนวรัฐในปัจจุบัน) จึงเรียกสะพานนี้ว่า ขัวเก่า สะพานแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินข้ามในคราวเสด็จประพาสหัวเมืองพายัพ

ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ช่วงฤดูน้ำหลาก ขัวกุลาหรือขัวเก่าถูกไม้ซุงจำนวนมากที่ล่องไปตามแม่น้ำปิงกระแทกเข้ากับเสาตอม่อสะพาน ทำให้สะพานเอียงทรุดเสียหาย ต่อมาจึงต้องรื้อทิ้ง ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำปิงได้รับความยากลำบากในการเดินทางมากขึ้น โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่ไม่สามารถใช้เรือข้ามได้ การเดินทางข้ามแม่น้ำปิงต้องไปข้ามที่สะพานอีกแห่งที่อยู่ห่างออกไป คือ สะพานนวรัฐ ทางราชการแก้ปัญหาด้วยการสร้างสะพานชั่วคราวทำด้วยไม้ไผ่สานขัดแตะ ชาวบ้านเรียกว่า ขัวแตะ แต่ถึงฤดูน้ำหลากก็จะถูกน้ำพัดพังไป จึงทำให้ต้องสร้างขัวแตะขึ้นใหม่ทุกปี

ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๗ มีพ่อค้าชาวอินเดียชื่อ โมตีราม หรือนายมนตรี โกสลาภิรมณ์ ได้บริจาคเงินให้เทศบาลเชียงใหม่ รวมทั้งมีการระดมทุนเพิ่มเติมสำหรับการก่อสร้างสะพานถาวร เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้านและเป็นอนุสรณ์แก่ภรรยาชื่อจันทร์สม เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งชื่อสะพานแห่งนี้ว่า “สะพานจันทร์สมอนุสรณ์” ชาวบ้านเรียกกันว่า ขัวแขก
สะพานแห่งนี้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงสำหรับคนเดินข้าม มีการสัญจรไปมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สะพานชำรุด เทศบาลนครเชียงใหม่จึงจัดสรรงบประมาณสร้างสะพานใหม่ทดแทน เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดความกว้าง ๓ เมตร ยาว ๑๑๐ เมตร และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการ ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นมา

✅ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์
นักจดหมายเหตุชำนาญการ
✅ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย

9
เจ้าแก้วนวรัฐกับครอบครัว ถ่ายที่คุ้มหลวงริมปิง
น่าจะถ่าย พ.ศ.2477 คือปีที่เจ้าแก้วนวรัฐมีอายุครบ 6 รอบ ปัจจุบันบริเวณของคุ้มคือตลาดนวรัฐ
เชื่อว่าคงมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่รู้จักบุคคลในภาพไม่ครบทุกท่าน ผมขอกล่าวชื่อของแต่ละท่านและความสัมพันธ์กับเจ้าแก้วนวรัฐ เพื่อให้สมาชิกเข้าใจได้ง่าย ผมขออนุญาตไม่ใช้คำราชาศัพท์นะครับ
เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา
# แถวบน
1.เจ้าเมืองชื่นหรือเจ้าราชภาคินัย(สามีเจ้าบัวทิพย์) - ลูกเขย
2.เจ้าอินทนนท์ - ลูกชาย
3.เจ้าวงษ์ตะวันหรือเจ้าราชบุตร - ลูกชาย
4.เจ้าพงษ์อินทร์ - ลูกชาย
5.เจ้ากาวิละวงศ์(สามีเจ้าศิริประกาย) - ลูกเขย
# แถวกลาง
1.เจ้าสุคันธา(ภรรยาเจ้าอินทนนท์)และบุตร - ลูกสะใภ้และหลาน
2.เจ้าบัวทิพย์ - ลูกสาว
3.เจ้าแก้วนวรัฐ
4.เจ้าศิริประกาย - ลูกสาว
5.เจ้าภัทรา(ภรรยาเจ้าวงษ์ตะวัน) - ลูกสะใภ้
# แถวล่าง
1.เจ้าพงษ์กาวิล(บุตรเจ้าศิริประกายและเจ้ากาวิละวงศ์) - หลาน
2.เจ้าศิริกาวิล(บุตรีเจ้าศิริประกายและเจ้ากาวิละวงศ์) - หลาน
3.เจ้าวงศ์จันทร์(บุตรีเจ้าวงษ์ตะวันกับเจ้าจันทร)และบุตร - หลานและเหลน
4.เจ้าระวีพันธ์ุ(บุตรีเจ้าวงษ์ตะวันกับเจ้าภัทรา) - หลาน

จาก ... หนังสือ "อดีตลานนา"
ของ คุณลุงบุญเสริม สาตราภัย และ คุณสังคีต จันทนะโพธิ

10
เจ้าเมืองเวียงป่าเป้า พญาขันธ์ และ เจ้าแม่คำปวน
เคยเห็นแต่ อนุสาวรีย์ไม่คิดว่าจะมีภาพถ่าย
ลูกค้าตระกูล ธนะชัยขันธ์ ส่งภาพเก่ามาทำสี
เป็นรูปถ่ายอายุ 104 ปีก่อน ของ
พญาขันธเสมบดี หรือ พญาขันธ์
เจ้าปกครองเมืองเวียงป่าเป้าคนสุดท้าย
ต้นตระกูล ธนะชัยขันธ์

ภาพถ่ายเมื่อ
28 พฤศจิกายน 2463

ภาพ พญาขันธเสมบดี หรือ พญาขันธ์
ท่านเป็นลูกเขยคนเล็กของพญาไชยวงค์
มีภรรยาชื่อ แม่เจ้าคำปวน
ต้นตระกูลธนะชัยขันธ์
มีบุตรธิดาด้วยกัน ๗ คน
คือ ๑.แม่เจ้าเหมย ๒.เม่เจ้าเขียว-หมัด ๓.แม่เจ้าบุญปั๋น ๔.พ่อเจ้าน้อยมหาอินทร์ ๕.แม่เจ้าต่อมคำ ๖.พ่อเจ้าหน้อยคำตั๋น ๗.พ่อเจ้าน้อยหน่อเมือง

ประจำทุกวันที่ ๙ มกราคมของทุกปี
จะมีประเพณีทำบุญอุทิศส่วนกุศล
แก่อนุสาวรีย์พ่อหลักเมืองเวียงป่าเป้า
และ เหล่าบริวาร
อนุสาวรีย์พญาขันธเสมาบดี
หรือ พญาขันธ์ ตั้งอยู่ในบริเวณ
อนุสาวรีย์พ่อหลักเมืองเวียงป่าเป้า
หมู่ที่ ๒ บ้านในเวียง ตำบลเวียง
อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ขอบคุณภาพ Som Thanachaikan
เพจ เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

11
คุ้มเจ้าเมืองเชียงของ เมื่อ 100 ปีก่อน
ภาพถ่ายในปี พ.ศ.2467 คุ้มสร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง หลังคากระเบื้องดินขอ ใต้ถุนสูงจนช้างลอดได้
ที่ตั้งเดิมคือด้านทิศตะวันตกถนนสายกลาง
(ตรงข้ามทางลงท่าผาถ่าน) บ้านวัดหลวง

รองอำมาตย์เอก พระยาจิตวงษ์วระยศรังษี
เจ้าเมืองเชียงของ คนสุดท้าย,
เจ้าจิตวงษ์ (ต้นตระกูล จิตตางกูร
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ
พระราชทานนามสกุลเมื่อ 25 กันยายน พ.ศ.2457)

สนับสนุนโดย องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
ขอบคุณภาพจาก
ภาพเก่าเล่าเรื่องเมืองเชียงของ
สภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงของ

แต่งสีโดย #เชียงใหม่ที่คุณไม่เคยเห็น

12
ย้อนเวลาหาอดีตที่ "เชียงตุง" I ประวัติศาสตร์นอกตำรา EP.222

ดูวีดีโอ https://youtu.be/TNUir--BSkI?si=V9nnr_OXsUf7e8ht

เชียงตุง ในอดีตถูกเรียกในหลายชื่อ เช่น   เมืองขืนเชียงตุงคบุรี   เขมรัฐ เมืองเขม เมืองขึน และเขมรัฐนครเชียงตุง
     “ 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู ”  คือสมญานามที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของเชียงตุงในอดีต  ซึ่งแม้จะเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายของผู้คนต่างชาติพันธุ์และวัฒนธรรม ที่ประกอบไปด้วยกลุ่มชาวไต หรือไท เช่น ไทขึน หรือไทเขิน  ไทโหลงหรือไทใหญ่ รวมไปถึงไทลื้อ   อกจากนี้ยังมีพม่า จีน และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ อีกหลายกลุ่ม แต่พวกเขาก็อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนมาเนิ่นนาน
       เดิมเชียงตุงเป็นถิ่นอาศัยของชาวลัวะ ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์เก่าแก่ในกลุ่มภาษากลุ่มออสโตร-เอเชียติก ( Austro-Asiatic)      ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ 18  เมื่อพญามังรายปฐมกษัตริย์ของอาณาจักรล้านนาได้สร้างเมืองเชียงตุงขึ้นที่นี่ และขับไล่ชาวลัวะไปอยู่ตามดอย นับจากนั้นเชียงตุงก็มีสถานะเป็นเมืองหนึ่งในเครือข่ายอาณาจักรล้านนานับตั้งแต่เริ่มต้น
     การสร้างเมืองเชียงตุงของพญามังรายได้เปลี่ยนสภาพจากเมืองของพวกลัวะ ให้กลายเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความสำคัญ ทั้งทางด้านการเมือง ยุทธศาสตร์และการค้า พร้อมทั้งการส่งเชื้อพระวงศ์จากล้านนาขึ้นมาปกครองเชียงตุงเรื่อยมา ก่อนที่ต่อมาจะตกเป็นรัฐบรรณาการของพม่า
    นับจากปี พ.ศ. 2103 ในสมัยพระเจ้าบุเรงนอง ทั้งล้านนา และเชียงตุงต้องตกเป็นประเทศราชของพม่าอยู่ยาวนานราว 200 ปี   กระทั่งสมัยพญากาวิละได้ทำการปลดแอกเชียงใหม่จากพม่า และหันมาเป็นประเทศราชของสยามแทน
    พญากาวิละได้ยกทัพขึ้นมาตีเมืองเชียงตุง และกวาดต้อนผู้คนลงไปตั้งรกรากในเชียงใหม่ แต่ต่อมาภายหลังเชียงตุงก็กลับไปเป็นประเทศราชของพม่าอีกครั้ง
     นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ถึง รัชกาลที่ 4 สยามพยายามจะเข้ายึดครองเชียงตุง แต่ไม่สามารถเอาชนะศึกได้  จนเมื่ออังกฤษเข้ายึดครองพม่าได้สำเร็จ เชียงตุงจึงอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษไปด้วย
       ความพยายามอีกครั้งในการผนวกดินแดนเชียงตุงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไทย เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  โดยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ภายใต้การสนับสนุนของญี่ปุ่นได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดเมืองเชียงตุง และเมืองพาน หรือเมืองปั่น เพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นแคว้นหนึ่งของไทยในชื่อ “สหรัฐไทยเดิม” 
        เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม  ไทยจึงมอบคืนดินแดนสหรัฐไทยเดิมให้แก่สหประชาชาติ ในวันที่ 1 มกราคม  2489
          แม้จะเป็นเพียงพื้นที่เล็ก ๆ  ของภูมิภาคอุษาคเนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  แต่เชียงตุงสามารถทำให้เรามองเห็นภาพปรากฏการณ์อย่างหนึ่งทางสังคมพม่าได้แจ่มชัดมากขึ้น    นั่นคือความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พวกเขาต่างแสดงออกถึงพื้นฐานความเป็นมนุษย์ในเชื้อชาติของตน  ซึ่งทุกฝ่ายล้วนมีทุนทางวัฒนธรรมในการช่วยสร้างวิวัฒนาการในระบบสังคมให้เกิดขึ้น   
   ท่ามกลางปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ อย่างรุนแรงในพม่าปัจจุบัน  เราหวังว่าในที่สุดแล้วทุกฝ่ายจะเห็นความสำคัญของคุณค่าความเป็นมนุษย์  ที่มีความหลากหลายทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และร่วมกันสร้างสังคมพม่าให้มีความมั่นคง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติตลอดไป

13
บริเวณเจดีย์กิ่ว ริมน้ำปิง ทาง ด้านขวามือหันหน้าเข้าหาเจดีย์ ในสมัยก่อนเคยเป็นคุ้ม หรือตำหนักของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ อดีตเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่เรียกว่า “คุ้มท่า” หลังจากที่พระเจ้าอินทวิชยานนท์พิราลัยแล้ว จึงใช้คุ้มแห่งนี้เป็นจวข้าหลวง สิทธิ์ขาดประจำมณฑลพายัพแล้ว จึงเปลี่ยนมาเป็นจวน สมุหเทศาภิบาล คุ้มแห่งนี้จึงถูกทอดทิ้งจนชำรุดทรุดโทรม ต่อมาจึงได้รื้อทิ้งแล้วสร้างเป็น สำนักงานงานเทศบาลนครเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบันนี้ส่วนบริเวณด้านซ้ายมือของเจดีย์กิ่วนั้น เจ้าแก้วนวรัฐเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้สร้างเป็น ตำหนักของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จกลับมาประทับเป็นการถาวรที่เชียงใหม่ เรียกว่าคุ้มเจดีย์งาม หรือคุ้มเจดีย์กิ่ว ปัจจุบันคุ้มนี้คือบริเวณสถานกงสุลใหญ่ อเมริกันประจำจังหวัดเชียงใหม่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก เจ้าคุณเมืองเชียงใหม่

14
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=DJ_y-XIb3ww" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=DJ_y-XIb3ww</a>

https://www.youtube.com/watch?v=DJ_y-XIb3ww

ซอปอยหลวง วัดหนองควาย ต.ดอยงาม อ.พาน จ.เชียงราย 14/01/67

ปอยหลวงอุโบสถและสมโภชพระเจ้าเศรษฐีเงินล้าน วัดหนองควาย ต.ดอยงาม อ.พาน จ.เชียงราย 14/01/67

ช่างซอ

อินเหลา เมืองลวง - ฟางคำ เชียงดาว

ช่างปี่

พ่อเสน่ห์
พ่อทิด
อ้ายแจ็ค
อ้ายโหน่ง

15
ครอกฟ้าศรีอโนชาฯ พระน้องนางแห่งเมืองเหนือ กับวีรกรรม“หงายเมือง” จากกรุงธนบุรีสู่กรุงเทพฯ (๑)

เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์

เรื่องราวของเจ้าครอกฟ้าศรีอโนชานั้นน่าสนใจยิ่งนัก เพราะเป็นสตรีผู้อยู่กึ่งกลางระหว่าง“ช้างเหนือ”กับ“เสือใต้” กล่าวคือ ได้มีการอุปมาอุปไมยเปรียบเปรย สองแม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ของพระเจ้ากรุงธนบุรี คือ“พระญากาวิละ”กับ“เจ้าพระยาสุรสีห์”ว่ามีฉายาประดุจ “พระญาช้างแห่งเมืองเหนือ-พระญาเสือแห่งเมืองใต้” เรียกได้ว่าเป็นยอดนักรบที่ปราบข้าศึกอย่างเกริกไกรที่สุดในยุคสมัยนั้น ชนิดที่ว่าต่างก็มีฝีมือระดับพระกาฬเฉือนกันไม่ลง และช่างบังเอิญเหลือเกินที่สตรีแห่งล้านนานาม“เจ้าศรีอโนชา”ต้องมาอยู่ตรงกลาง ในฐานะเป็นพระน้องนางแห่งพระญากาวิละ พระเจ้ากรุงเชียงใหม่และเป็นอัครชายาของสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้าในรัชกาลที่ ๑)

ซ้ำช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ ปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เอกสารพงศาวดารหลายฉบับมีการกล่าวถึงเจ้านางองค์นี้ว่า มีส่วนช่วยปราบกบฏพระยาสรรค์อย่างเข้มแข็ง ด้วยวีรกรรมที่ใช้คำเพียงคำเดียวก็เห็นภาพอย่างอยู่หมัดว่า“หงายเมือง” นำไปสู่การอัญเชิญสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเสด็จกลับจากการยกทัพไปปราบเขมร เพื่อปราบดาภิเษกราชวงศ์ใหม่
เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชาคือใคร ทำไมจึงมีนามฟังดูแปลกและแปร่ง มาพบรักกับเจ้าพระยาสุรสีห์(บุญมา-พระเจ้าเสือ-วังหน้า)ได้อย่างไร มาแบบเชลยการเมืองหรือมีจิตสนิทเสน่หาซึ่งกันและกันช่วงไหน

ข้อสำคัญ บทบาทของเจ้านางแห่งเมืองเหนือ สามารถช่วย“หงายเมือง”จากกรุงธนไปสู่กรุงเทพฯ ด้วยวิธีใด ทุกประเด็นล้วนแผงไปด้วยปริศนา

นามเจ้าครอก เจ้ารดจา ศิริรจนา มาได้อย่างไร
นามเดิมของพระนางนางแห่งช้างเหนือนั้น ในฐานะที่เป็นพระธิดาลำดับที่ ๕ ของเจ้าฟ้าชายแก้ว โดยมีพระยากาวิละเป็นพระเชษฐาองค์โต แห่งตระกูล“ทิพย์จักริราช” หรือนิยมเรียกกันว่า“สกุลเชื้อเจ็ดตน”(คือนับแต่ผู้ชาย ไม่นับเจ้าที่เป็นหญิง)นั้นปรากฏนามว่า“เจ้าศรีอโนชา”หรือ“นางศรีอโนชา” ซึ่งภาษาล้านนาออกเสียงตัว“ช”เป็น“จ” จึงเรียกย่อๆกันว่า“เจ้านางโนจา”

เมื่อได้สมรสกับพระยาเสือแห่งเมืองใต้แล้ว จาก“โนจา”ก็ได้รับการเปลี่ยนนามเป็น“ท่านผู้หญิงศิริรจนา” อันหมายถึง“ผู้มีรูปโฉมงดงาม” แต่คนเหนือก็ยังเรียกเป็นสำเนียงพื้นเมืองว่า“เจ้ารดจา”อยู่นั่นเอง

ครั้นเมื่อมีการผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน เจ้าพระยาสุรสีห์ได้เลื่อนเป็น สมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท เมื่อนั้นเองเจ้ารดจาก็เลื่อนฐานันดรกลายเป็น“พระอัครชายาในกรม หรือ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา อันเป็นตำแหน่งสูงสุดและเป็นนามสุดท้าย

เจ้าครอก คำนี้สร้างความสงสัยแก่ผู้คนเป็นอย่างมากว่า ทำไมถึงใช้คำดังกล่าว ถึงกับมีผู้พยายามแผลงเปลี่ยนใหม่ให้เป็น“เจ้าครอกฟ้า” หมายใจจะให้ฟังดูไพเราะขึ้น ด้วยคงไปนึกเปรียบเทียบกับคำว่า“ขี้ครอก”อะไรนั่น
แท้จริงแล้วสมัญญา“เจ้าครอก”ไม่ใช่คำที่ใช้เรียกเชิงดูถูกในความหมายเชิงลบ หากเป็นคำที่สะท้อนนัยพิเศษ สำหรับเจ้านายฝ่ายหญิงบางองค์ ดังนี้
กรณีแรก ใช้เรียกเจ้านายฝ่ายหญิงที่มีชาติวุฒิเชื้อสายเจ้าโดยกำเนิด คือไม่ใช่ปูมหลังเป็นสามัญชน

กรณีที่สอง เจ้านายหญิงองค์นั้นน่าจะมีกองกำลังทัพเป็นของตนเอง
นอกเหนือจากเจ้าครอกฟ้าศรีอโนชาแล้ว สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังมี“เจ้าครอก”อีกหลายอนงค์ อาทิ “เจ้าครอกวัดโพธิ์”หรือสมเด็จพระน้องนางเธอ กรมหลวงนเรนทร ในรัชกาลที่ ๑ ก็ถูกเรียกว่า“เจ้าครอก”ตามสถานที่ประสูติ คือ วัดเชตุพนวิมลมังคลาราม เจ้านายหญิงพระองค์นี้ก็มีบทบาทในด้านกองทัพเช่นกัน

ยังมี“เจ้าครอกทองอยู่” ผู้เป็นอัครชายาของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข(สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์) หรือวังหลัง บ้างก็เรียกเจ้าทองอยู่ว่า“เจ้าครอกข้างใน”หรือ“เจ้าครอกใหญ่” ซึ่งผู้เขียนไม่แน่ใจว่าอาจต้องมี“เจ้าครอกข้างนอก”หรือ“เจ้าครอกน้อย”ด้วยหรือไม่
การใช้คำว่า“เจ้าครอก”แทบไม่ปรากฏอีกเลยในปัจจุบัน หลักฐานล่าสุดคงเหลือแต่กรณีของหม่อมเจ้าหญิงสบาย ลดาวัลย์ ซึ่งมีหลักฐานว่าพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธิสินีนาฏ(พระอิสริยยศเดิม หม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์)ยังทรงเรียกอย่าให้เกียรติว่า“เจ้าครอกหญิงสบาย”
รักที่ต้องเลือก การเมืองกับหัวใจ

เอกสารทั่วไปมักเลี่ยงที่จะกล่าวถึงปูมหลังของเจ้าศรีอโนชาว่า เคยสมรแล้วกับภัสดาผู้มีเชื้อสาย“เจ้าลาวพุงดำ”องค์หนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใดทราบชื่อเสียงเรียงนาม โดยมากเรารู้ว่า ขณะที่เจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปรบพม่าที่เชียงใหม่นั้น ได้พบขนิษฐาของพระญากาวิละ ผู้มีรูปโฉมงาม จึงเกิดความพึงพอใจ พระเจ้าตากสินจึงได้ขอเจ้าศรีอโนชาให้สมรสกับพระยาสุรสีห์ ในขณะที่ฝ่ายชายมีอายุ ๓๑ และฝ่ายหญิงอายุ ๒๔ ปี

หรือไม่ก็เป็นมุมมองในลักษณะที่ว่า หลังจากที่พระญากาวิละได้ถวาย“นัดดานารี”นางหนึ่งแด่พระเจ้าตากสินแล้ว ก็ได้ยกน้องสาวคนโตให้แก่เจ้าพระยาสุรสีห์ เพื่อเป็นการผูกมิตรภาพทางการเมืองให้เกิดการไว้วางใจระหว่างสยามกับล้านนา โดยไม่เคยเปิดเผยความจริงว่า ปูมหลังของเจ้าพระยาสุรสีห์นั้นเอง ก็ตกพุ่มหม้าย เคยมีภรรยาและบุตร แต่เลิกร้างตายจากกันไปแล้ว

นักค้นคว้าประวัติศาสตร์ชั้นยอด “ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม”เป็นผู้เดียวที่ได้เรียบเรียงเรื่องราวตอนนี้แตกต่างไปจากเอกสารเล่มอื่น โดยอ้างข้อมูลเชิงลึกจากหลายสำนักประกอบกัน หนึ่งในนั้นมีพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรวมอยู่ด้วย สรุปที่มาของบความรักระหว่างวังหน้ากับเจ้าศรีอโนชาได้ดังนี้

วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้นสามค่ำ พ.ศ.๒๓๑๗ กองทัพสยามได้ล้อมเชียงใหม่ทุกด้าน ก่อนเชียงใหม่จะแตกได้ ๘ วัน ขณะนั้นเจ้าศรีอโนชาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เพิ่งแต่งงานกับเจ้าลาวพุงดำผู้หนึ่ง(คนล้านนานิยมสักหมึกดำ คนสยามจึงเรียกว่า“ลาวพุงดำ”)

ทหารได้จับตัวภัสดาของเจ้าศรีอโนชามาถวายเจ้าพระยาสุรสีห์ ครั้นเจ้าพระยาสุรสีห์ได้เห็นเจ้าศรีอโนชาเกิดมีพระทัยปฏิพัทธ์ รับสั่งให้นำตัวภัสดาไปจำตรวนไว้ และเกลี้ยกล่อมเจ้าศรีอโนชาว่าจะทรงเลี้ยงเป็นพระชายา อย่าได้คิดอาลัยกับผัวเดิม จากนั้นซักไซ้ไล่เลียงว่าอยู่กินกันมากี่ปี เจ้าศรีอโนชาตอบว่าเพิ่งแต่งงานได้ ๘ วันก่อนเมืองเชียงใหม่แตก

อนึ่ง หากจะชุบเลี้ยงข้าพเจ้าฐานะบาทบริจาร์นั้น ขอให้ปล่อยภัสดากลับไปบ้านเมืองของเขาเถิด อย่านำไปเป็นเชลยทางใต้ให้กินแหนงแคลงใจเลย

“เจ้าลาวพุงดำ” ผู้อาภัพรักคนนั้นคือใคร อยู่กินกับเจ้ารดจาได้เพียง ๘ วันก็ต้องเจอราชภัยเสียแล้วฤา บางท่านกล่าวว่าเขาน่าจะมีเชื้อสายของพระองค์ดำ(ใครคือพระองค์ดำ?)

เยี่ยงนี้แล้ว เรายังจะคิดว่าการเสกสมรสระหว่างเจ้าศรีอโนชากับเจ้าพระยาสุรสีห์ นำมาซึ่งความชื่นมื่นของวงศ์ตระกูลเจ้าเจ็ดตน คือ ความเต็มใจที่พระยากาวิละยินดีถวายพระน้องนางให้แด่พระเจ้าเสือแห่งเมืองใต้อยู่อีกล่ะหรือ

ความโศกเศร้าของเจ้าลาวพุงดำนั้นเล่า ได้รับการปลดปล่อยโซ่ตรวนสู่อิสรภาพ แต่ต้องแลกด้วยการสูญเสียคนรัก และสำนึกที่ต้องท่องให้ขึ้นในว่า“การเสียสละภริยาของเจ้านั้น คือสิ่งที่พึงกระทำ เพื่อพิสูจน์ให้สบยามได้เห็น“ความภักดี”ของชาวล้านนา” แต่มิต้องมาเรียกร้องหาสมัญญาของคำว่า “วีรบุรุษผู้เสียสละ”

เรื่องราวของเจ้าลาวพุงดำผู้นี้ ได้มาปรากฏอีกครั้ง ในปี ๒๓๒๗ คราวมีงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระญากาวิละเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้พาพี่น้องวงศาคณายาติลงมาเฝ้ารัชกาลที่ ๑ และวังหน้า พร้อมร่วมงานเผาศพพระเจ้ากรุงธนบุรี
ครั้นนั้นเองที่เจ้าลาวพุงดำได้ติดตามลงมาด้วย และขอพบเจ้าศรีอโนชาเป็นครั้งสุดท้าย ณ พระตำหนักวังหน้า โดยที่กรมพระราชวังบวรฯก็เปิดทางให้พบพูดคุยกันได้ เจ้าลาวพุงดำเอาแต่พิไรรำพันร่ำไห้ตีอกชกหัว

ในขณะที่เจ้าศรีอโนชากลับใจแข็ง(หรืออาจจะต้อง“แข็งใจ”) พูดปิดฉากความรักรันทดนั้นว่า“ชาตินี้มีกรรมจึงพลัดพรากไม่ได้อยู่ด้วยกันได้ กลับไปอยู่บ้านเถิด อย่าคิดอาลัยในตัวข้าเจ้าเลย ตัวของข้าเจ้าเองก็จะก้มหน้าสู้กรรมไปชาติหนึ่ง”

วีรกรรม“หงายเมือง” ระดมไทโยนกจากปากเพรียว
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกันกับฉากการสมรสที่ถูกปรุงแต่งให้หวานชื่นระหว่างเจ้าศรีอโนชากับเจ้าพระยาสุรสีห์ อันเป็นการคัดลอกต่อๆกันมาจากเว็บไซต์ ด้วยมุมมองเพียงด้านเดียว

นั่นคือข้อมูลที่ว่า“เจ้าศรีอโนชาได้มีส่วนช่วยในการยกกองกำลังชาวไทยวนจากปากเพรียว สระบุรี มาปราบกบฏรพยาสรรค์ที่กรุงธนบุรี ซ้ำยังส่งคนไปแจ้งข่าวเชิญให้แม่ทัพสองพี่น้อง คือ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก กับเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพกลับจากเขมร ทั้งๆที่ยังจัดการไม่แล้วเสร็จ

เรื่องราวตอนนี้สร้างภาพในทำนองว่า ขณะที่พระเจ้ากรุงธนบุรีได้กำลังอยู่ในสภาพอ่อนแอปวกเปียกอย่างถึงขีดสุด ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ฝ่ายพระยาสรรค์ได้ลุแก่อำนาจ ทำการประหารพระเจ้ากรุงธนบุรี ไม่มีใครสามารถปราบกบฏพระยาสรรค์ได้เลย

เว้นแต่เพียงวีรกรรมของเจ้าศรีอโนชา ซึ่งทำการส่งคนไปเกณฑ์ชาวไทยวน(หรือโทโยน มาจากคำว่าโยนก หมายถึงไทล้านนา)ที่อาศัยอยู่ที่ปากเพรียวหลายร้อยนายลงมา โดยมีข้อแม้แลกเปลี่ยนว่า ภายหลังจากเสร็จศึกครั้งนี้แล้ว ชาวเมืองปากเพรียวจะไม่ต้องถูกเกณฑ์มาเป็นไพร่สม พร้อมจักปูนบำเหน็จให้อยู่ดีกินดี

ในเมื่อกูมีชีวิต กูบ่ให้สูได้ทำการบ้านการเมือง จักหื้อสูสะดวก ค้าขายกินตามสบาย ..ชาวปากเพรียวอาสาเข้ายับเอาพระยาสิงห์(?) พระยาสรรค์ได้แล้วฆ่าเสีย เจ้าครอกศรีอโนชา“หงายเมือง”ได้ไว้แล้ว ให้ไปเชิญเอาเจ้าพระยาจักรี เจ้าพระยาสุรสีห์สององค์พี่น้องเข้ามาผ่านพิภพขึ้นเสวยราชย์”

ข้อความตอนนี้คัดมาจากตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ซึ่งได้รับการกล่าวอ้างขยายผลไปต่างๆนานา ผู้เขียนมิได้ปฏิเสธบทบาทการมีส่วนช่วยการยันทัพกบฏพระยาสรรค์ของเจ้าศรีอโนชาในครั้งนี้ว่า คงมีส่วนจริงอยู่ไม่มากก็น้อย แต่ทว่าข้อความดังกล่าวมีสิ่งคลาดเคลื่อนอยู่หลายประการ จนทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ นับแต่“พระยาสิงห์”นั้นหมายถึงใคร ที่ว่าเป็นกบฏ
กรณีการฆ่ากบฏพระยาสรรค์ จากพงศาวดารฉบับอื่นๆ ล้วนแต่กล่าวว่าเป็นผลงานการตัดสินใจของเจ้าพระยาจักรี ภายหลังกลับจากเขมรมาแล้ว หาใช่เกิดจากวีรกรรมที่เจ้าศรีอโนชาลงมือเองไม่

พระยาตากสินยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่ประหารพระเจ้าตากสินมิใช่พระยาสรรค์ แต่คือเจ้าพระยาจักรี

ข้อสำคัญ“ไทยวนปากเพรียว(เพรียว)” คือใคร ถูกเกณฑ์จากเมืองเหนือมาอยู่ที่สระบุรีตั้งแต่เมื่อไหร่ ใกล้ชิดสนิทสนมกับเจ้าศรีอโนชาอย่างไร จึงสามารถเรียกเกณฑ์ได้ทันท่วงที ภายในวันเดียวที่พระยาสรรค์กำลังเผาพระนครธนบุรีลุกเป็นเพลิงไหม้

เนื้อที่หมดพอดี ดังนั้นขอยกยอดปริศนาทั้งหมดนี้ไปวิเคราะห์อย่างละเอียดในฉบับหน้า
(นิตยสาร“มติชน สุดสัปดาห์ ปีที่ ๓๔ ฉบับที่ ๑๗๓๕ วันที่๑๕-๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖)

หน้า: [1] 2 ... 45