รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


ชุดกาบคำ งาน มงคลสมรสของ เจ้าสุคันธา ณ เชียงตุง กับ เจ้าเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่

  • 0 ตอบ
  • 1922 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 661
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
ชุดกาบคำ ที่ เจ้าบ่าวเจ้าสาว สวมใส่ในงาน มงคลสมรสของ เ้จ้าสุคันธา ณ เชียงตุง กับ เจ้าเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ ที่เมืองเชียงตุงเมื่อ 22 /2/2475

ในภาพเจ้าอินทนนท์สวม เสื้อกาบคำตัวยาว เจ้านางสุคันธา สวมเสื้อกาบคำ และ ซิ่นไหมคำเชียงตุง

สัมภาษณ์ตอนหนึ่งในนิตยสารแพรวเมื่อหลายสิบปีก่อน เจ้าสุคันธาได้ย้อนรำลึกถึงสมัยแต่งงานว่า

ถาม : ท่านพบกับเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ (สามี) ได้อย่างไรคะ?

พบกันตอนอายุยี่สิบสองปีเท่ากัน
แต่ฉันแก่กว่าเจ้านนท์สิบกว่าวัน
เจ้าแว่นแก้ว พี่สาวของฉัน มีคนมาสู่ขอ
เมื่ออายุสิบหก เลยถูกเจ้าพ่อบังคับให้แต่งงาน
นั่งร้องไห้ร้องห่ม ไม่มีโอกาสได้รู้จัก
กับชายคนอื่นเลยต้องโดนจับคลุมถุงชน
ตั้งแต่เด็ก ฉันเองไม่เคยรู้จักเจ้านนท์มาก่อน
แต่ตอนนั้นจะมีนักสืบ หรือ แม่สื่อ
เป็นคนสืบให้ว่าคนที่มาสู่ขอนั้นมีประวัติ
นิสัยใจคอเป็นอย่างไร หลังจากหมั้นได้
แปดเดือนก็แต่งงาน

ถาม : วันพิธีแต่งงานเป็นอย่างไรบ้างคะ?

มีเรียกขวัญ ผูกข้อมือ เจ้าพ่อท่านส่งจดหมายไปเชิญเจ้าเมืองต่างๆมาร่วมงานด้วยแต่การเดินทางสมัยนั้นยังลำบากอยู่ และไม่ใช่งานแต่งของเจ้าฟ้าคนสำคัญอะไรเขาเลยส่งของขวัญมาแทนงานหมั้น ไม่มีพิธีหรอกมีแต่เลี้ยงข้าวและสวมแหวนเท่านั้นเอง ส่วนพิธีแต่งงานมีสองวัน วันแรกเป็นวันผูกข้อมือ จะมีคนออกมาอ่านหนังสือกล่าวขวัญอวยพรให้กับเจ้าบ่าวเจ้าสาวเสร็จแล้วแขกผู้ใหญ่จะเอาด้ายผูกข้อมือใครที่เตรียมของขวัญมาก็ให้คู่บ่าวสาวในตอนนั้นวันต่อมาเป็นวันดำหัวเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะต้องยืนบนแท่นสูงเพื่อให้แขกพรมน้ำอวยพร
ฉันจำได้แม่นว่า วันนั้นเจ้านนท์ใส่เสื้อครุยยาว ที่เรียกกันว่าเสื้อคำ ซึ่งเป็นเสื้อเฉพาะของเจ้าฟ้าเชียงตุงที่ได้รับพระราชทานจากกษัตริย์อังวะ และสวมชฎา ทีแรกท่านสวมชฎา แต่บอกว่าเจ็บ ตอนหลังทนไม่ไหวเลยต้องถอดออกแล้วใช้ผ้าเคียนหัวแบบธรรมดาแทน หลังจากที่คู่สมรสกล่าวเสร็จจึงจะดำหัวเจ้าบ่าวเจ้าสาว เป็นการพรมน้ำไม่ใช่ดำหัวจริงๆ จากนั้นจะมีการแห่คู่บ่าวสาวหนึ่งรอบก่อนเสร็จพิธี ถ้าเป็นสมัยก่อนนั้นไปอีกคู่บ่าวสาวต้องนั่งแห่ไปบนหลังช้าง แต่พอมาถึงสมัยฉัน เจ้าสาวกลับนั่งแห่ไปบนรถยนต์ประดับประดาด้วยดอกไม้ฉันต้องนั่งรถจากตำหนักเจ้าพรมลือเพื่อไปรับเจ้าบ่าวที่ศาลากลาง แล้วเจ้าบ่าวจะขี่ช้างตามเจ้าสาวไปที่บ้านฉัน ถ้าเป็นงานแต่งระดับเจ้าผู้ครองนคร ต้องกมีการเลี้ยงอาหารฝรั่ง เนื่องจากในเชียงตุงมีฝรั่งมาพักอยู่มากเหมือนกัน

งานเสกสมรสของเจ้าอินทนนท์ กับเจ้าหญิงแห่งเมืองเชียงตุง คือ เจ้าหญิงสุคันธา ณ เชียงตุง ธิดาในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ณ หอคำเชียงตุงนั้นในหนังสือเพชรล้านนา เล่มสอง ระบุไว้ในหน้าที่๘๘ ว่า เจ้าหญิงบัวทิพย์ ได้เคยเดินทางไปเชียงตุงในพ.ศ. ๒๔๗๖ พร้อมคณะซึ่งมี อำมาตย์โท เจ้าราชภาคินัย( เมืองชื่น ณ เขียงใหม่ ) สวามี และ เป็นเจ้าภาพแทนเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้านายที่ได้เดินทางไปในครั้งนี้ มี เจ้าหญิงทิพวรรณ กฤษดากร เจ้าหญิง บุ้ ราชภาติกวงค์ ณ เชียงใหม่ เจ้าหญิง อำพัน สิโรรส

เจ้าอินทนนท์ ได้เสกสมรส กับ เจ้าหญิงแห่งเมืองเชียงตุง คือ เจ้าหญิงสุคันธา ณ เชียงตุง ธิดาในเจ้าฟ้ารัตนะก้อนแก้วอินแถลง ณ หอคำเชียงตุง ขณะที่มีพระชนมพรรรษา 22 พรรษาทั้ง 2 พระองค์ โดยมีเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทแถลงเจ้าหอคำ เจ้านางปทุมมหาเทวี เป็นเจ้าภาพเมื่อ พ.ศ. 2475 มีร้อยเอกโรแบรด์ ข้าหลวงอังกฤษผู้กำกับราชการนครเชียงตุง ร่วมเป็นเกียรติในงานมงคลสมรส เจ้านางสุคันธาและเจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ จึงเป็นสายใยแห่งความรักของราชสำนักเชียงใหม่และเชียงตุง รุ่นราชโอรส ราชธิดา "เจ้าหลวง" สองราชสำนักรุ่นสุดท้าย โดยมีโอรส ธิดา 5 พระองค์ คือ

1. เจ้ารัตนนินดนัย ณ เชียงใหม่
2. เจ้าวิไลวรรณ ณ เชียงใหม่
3. เจ้าสรรพสมบูรณ์ ณ เชียงใหม่
4. เจ้าไพฑรูย์ศรี ณ เชียงใหม่
5. เจ้าวีระยุทธ ณ เชียงใหม่ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาสันป่าตอง สิ้นชีพิตักษัย

เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่ สิ้นชีพตักษัยในปี พ.ศ. 2534 สิริพระชนมายุ 81 พรรษา ถึงแก่พิราลัย
เจ้านางสุคันธา ณ เชียงใหม่ ได้สิ้นชีพเมื่อชันษา 90 ปี ที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งพระศพบำเพ็ญกุศลที่วัดเจดีย์หลวง ส่งสการ ณ ฌาปนกิจสถานสันกู่เหล็ก ในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2546

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=-cV2trnv1zM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=-cV2trnv1zM</a>
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้