รับซื้อเพชร

ทางเว็บไม่อนุญาตให้โพสโฆษณา ประชาสัมพันธ์ใดๆ ทั้งสิ้น ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในเว็บไซต์ หากพบทางเว็บจะทำการลบทันที


เหตุการณ์การประหารชีวิต เจ้าน้อยพรหมวงศ์ ตามบันทึกของฝรั่ง

  • 0 ตอบ
  • 2526 อ่าน
*

ออฟไลน์ ฮักล้านนา

  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • 661
  • 306
    • ดูรายละเอียด
    • วัดร่องขุ่น
เหตุการณ์การประหารชีวิตเจ้าน้อยพรหมวงศ์ตามบันทึกของฝรั่ง "Vorbereitungen für Hinrichtungen in Siam"
Burger, Wilhelm 1869

   กรณีประหารชีวิตเจ้านายเมืองลำพูน   "มีอยู่คืนหนึ่งข้าหลวงที่มีอำนาจเป็นลำดับที่สามของสยามได้นั่งช้างผ่านเมืองลำพูน และมีคนมาแทงช้างของข้าหลวงจนเป็นบาดแผลฉกรรจ์
         เรื่องก็มีอยู่ว่าก่อนหน้านี้ไม่นานน้องชายของเจ้าหลวงเมืองลำพูนได้ไปเล่นการพนันที่บ่อนในเมืองแล้วมีเรื่องทะเลาะกับคณะผู้ติดตามของข้าหลวงชาวสยามจึงตกเป็นผู้ต้องสงสัยโดยปริยาย อีกทั้งเจ้าชายหนุ่มผู้นี้มีนิสัยเกเรแตกต่างจากเจ้านายคนอื่นทั่วไปจึงต้องเป็นคนร้ายอย่างแน่นอน

         เรื่องไปถึงพระยาราชเสนาและเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเจ้าหลวงเชียงใหม่พิโรธมากเพราะช้างเชือกนั้นเป็นช้างของพระองค์ เจ้าชายหนุ่มเมืองลำพูนต้องถูกลงโทษตามกฎหมายด้วยข้อหาดังนี้ ๑.สบประมาทข้าหลวงซึ่งเป็นตัวแทนของสยาม ๒.ทำร้ายช้างของเจ้าหลวง ๓.ประพฤติตัวเป็นคนพาล และ ๔.ต้องหาคนมาลงโทษให้ได้ (แพะรับบาป)

           เจ้าหลวงเมืองลำพูนนั้นพยายามแก้ต่างและแจงว่าน้องชายเป็นผู้บริสุทธิ์ แต่เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ไม่ยอม เจ้าชายหนุ่มต้องถูกประหารชีวิตเท่านั้น เจ้าหลวงเมืองลำพูนคิดว่าน้องชายนั้นนำความอัปยศอดสูมาให้ จึงไม่นำศพกลับเมืองลำพูน แต่จะฝังไว้ในวัดท่าวังตาลที่อยู่ใกล้ลานประหารนอกกำแพงเมือง

          เช้าตรู่ของวันที่ ๑๗ มกราคม ผมรู้ข่าวมาว่าจะมีการประหารชีวิตน้องชายเจ้านายเมืองลำพูน จึงรีบออกไปชมการประหารที่น่าสยดสยองครั้งนี้ ทั่วทั้งเมืองเงียบกริบเพราะผู้คนต่างไปยังลานประหารกันเกือบหมด ถึงแม้ว่าในเมืองเชียงใหม่มีการประหารชีวิตอยู่บ่อยครั้ง แต่การประหารชีวิตเจ้านั้นถือว่าเป็นกรณีพิเศษ ผมเดินข้ามทุ่งนาไปยังลานประหารอย่างเร่งรีบ จากที่พักไปยังลานประหารนั้นใช้เวลาเดินเพียง ๑ ชั่วโมงเท่านั้น เมื่อมาถึงครึ่งทางผมก็เห็นขบวนช้าง ๑๕ ถึง ๒๐ เชือก ซึ่งแต่ละเชือกก็มีขนาดใหญ่มาก มีทหารนับ ๑๐๐ คน เดินขนาบข้าง มีทหารม้าอยู่ในขบวนเพียงสองสามคน ปรากฏว่าขบวนช้างเพิ่งกลับมาจากลานประหาร และการประหารชีวิตเจ้าชายหนุ่มนั้นก็เสร็จสิ้นแล้ว แต่ผมก็ไม่หันหลังกลับ

           เมื่อเดินไปถึงลานประหารก็เห็นเจ้าหน้าที่ ๒ คนกำลังขุดหลุมตื้นๆ กันอยู่ ใกล้กันเป็นศพที่ถูกตัดหัวแล้ว ร่างของเจ้าชายหนุ่มมีรอยสักที่งดงาม อีกทั้งร่างกายก็ได้สัดส่วน ก่อนหน้านี้เพียงไม่กี่นาที เจ้าชายหนุ่มยังคงเป็นชายหนุ่มรูปงาม ร่างกายแข็งแรง แต่เวลานี้เหลือแต่ร่าง มีผ้าพันศพอย่างง่าย ดูแล้วชวนให้อดสู และอีกไม่ช้าก็คงถูกโยนลงหลุม

          ร่างของเจ้าชายหนุ่มถูกฝังอยู่ในป่าช้า ปราศจากเกียรติยศใดๆทั้งสิ้น ผมเข้าไปวิเคราะห์ศพของเจ้าชายหนุ่มอย่างละเอียดก็พบว่าครั้งแรกนั้นเพชฆฌาตฟันพลาด เพราะมีรอยฟันลึกอยู่ที่ไหล่ข้างซ้าย

          ศีรษะของเจ้าชายหนุ่มนั้นวางคว่ำอยู่ใกล้กัน เจ้าชายหนุ่มมีใบหน้าที่หล่อเหลาทีเดียว อายุประมาณ ๒๐ ปี ใบหน้านั้นสงบ เยือกเย็น ปราศจากความหวาดกลัวหรือเจ็บปวดจากการฟันที่ผิดพลาดในครั้งแรกเลย

          บริเวณลานประหารนั้นมีหลุมศพอยู่มากมาย แต่ไม่เหมือนหลุมศพในประเทศตะวันตกที่เห็นจนชินตา ศพถูกฝังอย่างตื้นๆ เมื่อฝนตกน้ำคงท่วมขัง บรรดานักโทษนอนพักผ่อนเป็นครั้งสุดท้ายโดยมีดินกลบหน้าเพียงสองสามนิ้วเท่านั้น ศพจะสลายกลายเป็นฝุ่นดินถ้าอีแร้งไม่มารุมทึ้งกินซากศพเสียก่อน

         เมื่อมองไปรอบๆ ก็เห็นไม้หรือซุงปักทำเป็นรูปกากบาทอย่างง่าย คล้ายไม้กางเขนปักอยู่ เมื่อมองตอนแรกก็เข้าใจว่าเป็นป้ายหลุมศพเหมือนในป่าช้าของคริสเตียน อันที่จริงไม้ดังกล่าวมีรูปทรงเป็น Y มากกว่า T หรือกางเขนเสียอีก ใกล้กับศพของเจ้าชายหนุ่มนั้นเป็นเเอ่งเลือด สุดท้ายผมจึงเข้าใจว่าไม้กากบาทนั้นก็คือหลักประหารนั่นเอง...

          ผมไม่รู้ว่าหลุมศพและเลือดของผู้บริสุทธิ์ในป่าช้านั้นมีมากมายเท่าใด และผมขอกล่าวว่าความผิดของเจ้าชายหนุ่มที่ถูกประหารชีวิตในครั้งนี้มีมูลความจริงน้อยมาก
...สุทธิศักดิ์ถอดความ     
   
      Temples and elephants : the narrative of a journey of exploration through upper Siam and Lao
      Carl Bock
      London S. Low 1884               
         "Vorbereitungen für Hinrichtungen in Siam"
      Burger, Wilhelm 1869

ช้างเชือกนี้ เป็นช้างพระที่นั่งของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ / ในครั้งนั้นเจ้าราชสัมพันธวงษ์ (เจ้าหนานธรรมลังกา ณ เชียงใหม่) เจ้าขัน 5 ใบแห่งเมืองนครลำพูน ยืมช้างพระที่นั่งของพระเจ้านครเชียงใหม่ไปใช้ในงานราชการบ้านเมือง เพื่อให้ขุน..... ซึ่งเป็นชาวทวาย มาทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาพม่า+ภาษาอังกฤษในคุ้มหลวงพระเจ้านครเชียงใหม่ เจ้าราชสัมพันธ์วงษ์ ได้มัดช้างไว้ 2 ตัวใกล้เคียงกัน เชือกที่ 1 คือช้างพระเจ้านครเชียงใหม่ เชือกที่ 2 เป็นช้างของเจ้าราชสัมพันธ์

             ในคืนต่อมาเจ้าตุ้ย ณ ลำพูน เป็นราชบุตรของ เจ้าหลวงไชยลังกาพิศาล เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ก่อน เจ้าตุ้ย(เจ้าน้อยพรหม) เป็นน้องชาย ของเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตน์ (เจ้าหลวงที่อยู่ในช่วงเกิดเหตุแทงช้าง)เจ้าตุ้ย เมาเหล้าอย่างชนิดไม่มีสติ (เรื่องภายในเล่าว่า เป็นเจ้าที่ชอบคบนักเลง นิสัยเกเร) ด้วยความเมาและความคึกคะนอง จึงแทงช้างพระที่นั่งฯเมื่อ มหาเทวีแม่เจ้าเทพไกสร ทรงทราบทรงกริ้วมาก หาว่าเจ้าตุ้ย หมิ่นพระเกียรติยศ พระเจ้านครเชียงใหม่

               จึงมีพระบัญชาให้เจ้าอุปราชบุญทวงศ์ (น้องชายต่างมารดา ของพระเจ้าเชียงใหม่) จัดการในเรื่องนี้ มันก้อเลยจบลงที่ เจ้าตุ้ย โดนฆ่าตาย เจ้าอุปราชบุญทวงศ์ เองค์นี้เปรียบเสมือนเจ้าหลวงองค์ที่ 2 ของเชียงใหม่ เพราะสามารถลบล้างคำสั่งของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ได้

ภาพประกอบ เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 ซึ่งเป็นพระเชษฐาของ “เจ้าน้อยพรหม”
กำเมือง ถ้าคนเมืองบ่อู้แล้วไผจะอู้